วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วัฒนธรรมการทำงานของคนราชทัณฑ์

คนราชทัณฑ์ กับ ยุทธจักรออนไลน์

ตอนที่แล้วก็ได้เกริ่นไปแล้ว กับการแบ่งประเภทสังคมผู้คุม สำหรับในหัวข้อนี้ จะแบ่งวัฒนธรรมการทำงานของผู้คุมเป็น สองส่วน ส่วนที่หนึ่ง คือผู้คุมที่ทำงาน ในกรมฯ ส่วนที่สองคือผู้คุมที่ทำงานตามเรือนจำ ทัณฑสถาน ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ส่วนแรก วัฒนธรรมการทำงาน จะเป็นรูปแบบอำนาจนิยม คือมันเป็นธรรมชาติที่คนเรา ที่อยู่สภาพการทำงานเป็นลักษณะศูนย์กลาง ทำงานส่วนกลาง อยู่ใกล้กับผู้บริหาร ระดับสูง ใกล้นโยบาย ทำให้ทัศนคติ เบี่ยงเบน ไปตามสภาพของนายที่ตนเองสังกัด ภาพง่ายๆ ที่เห็น ผู้คุมส่วนนี้คนใดที่อยู่กับผู้ตรวจราชการ ก็มักจะทำตัวเป็นผู้ตรวจราชการน้อยด้วย บางคนทำงานอยู่กองนิติการ ฝ่ายกฎหมายแต่ไม่ได้จบกฎหมาย นี่ก็มักจะทำตัวเป็นทนายราชทัณฑ์ มาดใหม่ใหญ่จริงรู้กฎหมายทุกเรื่อง อะไรประมาณนี้ แต่ผู้คุมส่วนนี้ ออกทำงานเรือนจำ ทัณฑสถาน เมื่อไหร่ ตายเรียบ ดีหน่อยที่รู้จักคนในกรมฯ ผบ ผอ ตามเรือนจำ ทัฯฑสถาน เขาก็แต่งตั้งเอาไว้ใกล้ตัว เอาไว้ใช้หาข้อมูลหรือติดต่อข้อมูลจากพวกที่เคยรู้จักในกรมฯ จากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา วัฒนธรรมของคนส่วนนี้ ในการทำงาน ซึ่งเป็นลักษณะอำนาจเจ้าขุนมูลนาย จะถูกถ่ายทอดมาเป็นวัฒนธรรม อำนาจนิยม ตามเรือนจำ ทัณฑสถาน ต่างจังหวัด คือต้องยอมรับว่า ผบ ผอ เรือนจำ ทัณฑสถาน ทั่วประเทศ เกินครึ่งหนึ่ง เติบโตมาจากกรมราชทัณฑ์ คือเติบโตมาจากส่วนกลาง ดังนั้นวัฒนธรรม อำนาจนิยม จึงติดมาด้วย แต่ไม่แค่นั้น สิ่งที่ตามมาจนเป็นวัฒนธรรมของผู้คุม ส่วนที่สองตามภูธรคือวัฒนธรรม อำนาจนิยมกึ่งเผด็จการ จากการที่ ผบ ผอ เรือนจำ ทัณฑสถาน เกินครึ่งหนึ่งที่มาจากกรมฯ ซึ่งมีลักษณะการทำงาน รวมศูนย์อำนาจ เจ้าขุนมูลนาย พอมาเป็น ผบ ผอ ซึ่ง ใหญ่อยู่คนเดียว ในอาณาจักรนี้ ทำให้เกิดอำนาจกึ่งเผด็จการขึ้นมา ท่านที่เป็นผู้คุม ท่านที่เคย อยู่ข้างรั้วเรือนจำ บางครั้งท่านจะเห็นผู้คุมคนหนึ่ง ยืนคุยกับ ผู้คุมอีกคนหนึ่ง ท่านจะรู้ทันทีเลยว่า ระดับใดคุยกับระดับใด (หมายเหตุ ผู้คุมทั้งสองไม่ได้ใส่เครื่องแบบราชการ) ท่านจะเห็นว่าคนหนึ่งยืนคุยในลักษณะ เชิดหน้า มองต่ำด้วยหางตา และพูดจาเสียงดัง กับอีกคนหนึ่งเวลาพูดเอามือกุมกะโปก ซึ่งคงจะกลัวมันหลุดเวลาพูดกับนาย และพูดจาด้วยความเรียบร้อย พูดน้อย ถ้าไปฟังใกล้ ก็จะได้ยินแต่คำว่า ครับ ครับท่าน ครับครับ ได้ครับ ถึงแม้เวลางานเลี้ยงนอกเวลาราชการ ท่านที่ได้รับเชิญไปงานเกี่ยวกับผู้คุมที่เขาจัดเลี้ยง ท่านจะเห็นผู้คุมบางคน นั่งเก้าอี้ มือถือแก้ว คุยกับผู้คุมอีกคนหนึ่งที่คุกเข่ากับพื้นคุยกัน ซึ่งถ้าเข้าไปฟังใกล้ ท่านก็จะได้ยินเหมือนกับผู้คุมที่ยืนคุยกันก่อนหน้านี้ ชัดเจนครับนี่คือวัฒนธรรมของผู้คุมในส่วนที่สอง แต่ในการทำงานผู้คุมในส่วนที่สอง รายได้จะดีกว่าผู้คุมที่อยู่ส่วนกลาง เนื่องจากมีการได้รับค่าตอบแทนหลายอย่าง เช่น ค่าเวรยาม ค่าเสี่ยงภัย เป็นต้น แต่ผู้คุมภูธร ตามเรือนจำ ทัณฑสถาน การแข่งขันสูงมาก แข่งเรื่องอะไร หรือครับ แข่งเรื่อง เข้าหานาย แข่งเรื่อง ความดีเด่นในที่ทำงาน แข่งเรื่อง การได้อยู่ในหน้าที่ที่มีผลประโยชน์ และที่น่าทึ่งที่สุดของคนราชทัณฑ์ภูธร การแข่งขันที่จะขอเป็นคนขับรถให้ ผบ ผอ สูงมาก เชื่อมั๊ยครับ บางคน เมียสั่ง ให้ซื้อรถยนต์ มาหัดขับเลยนะครับ เผื่อ นายจะเรียกใช้ให้ไปขับรถ ประมาณนี้ แต่วัฒนธรรมการทำงานนี้ ก็เอื้อกันในระบบ คือ ที่เป็นอยู่อย่างนี้ ส่วนหนึ่งก็เพราะคนที่มาจากกรม อีกส่วนหนึ่งก็เพราะนิสัยการทำงานของคน ที่อยู่ตามเรือนจำ ทัณฑสถานเอง รายละเอียดเป็นอย่างไร เดี๋ยวว่ากันตอนที่สอง ครับ ต้องไปถอนแล้วครับ อิอิอิ

1 ความคิดเห็น:

  1. ทุกวันนี้งานราชทัณฑ์ กินกันเป็นขบวนการ เห็นแล้วน่าเศร้าแทนประเทศไทย

    ตอบลบ