ตอนที่แล้ว ว่ากันถึงเรื่องการเอื้อกันในระบบ ของผู้คุม ส่วนกลางกับผู้คุมภูธร ส่วนภูมิภาค ที่ว่าเอื้อกันจนทำให้เกิดวัฒนธรรมการบริหารองค์กร แบบอำนาจนิยมกึ่งเผด็จการ ตามเรือนจำ ทัณฑสถาน นั้น ที่ว่า มันจึงมีคำถามว่า เอื้อกันอย่างไร เดี๋ยวว่ากันตามลำดับ เลยนะครับ ส่วนที่มาจากกรมฯ คือจากการที่บริหารส่วนใหญ่เติบโตมาจากกรมฯ โดยพกค่านิยมว่า ผู้คุมในกรมฯ เป็นผู้รู้โดยเฉพาะในเรื่องงานเรือนจำ ทัณฑสถานในแต่ละด้าน ฉะนั้น เวลาเจ้าหน้าที่ ติดในเรื่องประเด็นใด ผบ ผอ ก็สั่งลูกน้องง่ายๆ ว่า ให้โทรถามกรมฯ ถามกองที่เขาทำเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ มีหนังสือสั่งการ และระเบียบไว้เรียบร้อยแล้ว และอีกอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมการทำงาน ที่อาจจะเรียกได้ว่า เป็นตัวฉุดการเจริญเติบโตขององค์กร คืองานบางอย่าง รูปแบบการปฏิบัติผู้คุมที่อยู่เรือนจำภูธร ไม่กล้าตัดสินใจ ดำเนินการ ไม่กล้าปล่อยไอเดียร์เพื่อการพัฒนางาน แต่ถูกสั่งให้กลับไปถามกรมฯ ให้ดูรูปแบบจากกรมฯ ทั้งๆ ที่งานที่ออกมานั้น อาจจะดีกว่ากรมฯ ออกแบบด้วยซ้ำ แต่ก็อย่างว่า เมื่อ งานมันเดินย้อนกลับ คนที่อยู่ส่วนกลาง ก็สำคัญตัวเองขึ้นมาทันทีว่า ตนเป็นผู้รู้เป็นคนสำคัญ สามารถสั่งเรือนจำ ทัณฑสถาน ได้ จากประสบการณ์ที่ทำงาน มา ส่วนใหญ่ผู้คุมที่กล้าฉีกแนวคิดและพัฒนางาน มักจะเป็นพวกฮาร์ดคอ เรียกว่า กบถ เรือนจำ ลักษณะพวกนี้ ทำงานแบบแข็ง ไม่ค่อยยอมเดินตามตูดนายง่ายๆ พวกนี้มักจะได้รับงานสำคัญเมื่อมีงานในรูปแบบใหม่ๆ และงานนโยบาย จะถูกรีเทิน กลับมาใช้งาน พอหมดงาน ก็ถูกถีบไปอยู่ก้นคุก จากวัฒนธรรมการทำงานที่เอื้อกันในลักษณะนี้ ทำให้เกิดวัฒนธรรมการเกรงกลัว ส่วนกลาง บางทีส่วนกลางไม่รู้จริงแนะนำผิดบ้างถูกบ้าง เมื่อมีการตำหนิชิ้นงาน พวก ผบ ผอ เรือนจำ ก็มักจะจวก ผู้ปฏิบัติ ทำให้ผู้ปฏิบัติต้องสำนึกและสำเหนียกว่า คนกรมฯ มีอิทธิพลกับ ผบ ผอ ของตรู มาก ดังนั้น สิ่งที่เห็นเป็นประจำคือ เมื่อมีการโต้แย้ง ในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ภายในเรือนจำ เช่น เกี่ยวกับโครงสร้างการเข้าเวร ซึ่งมีรูปแบบ ระเบียบ และหนังสือสั่งการไว้แล้ว แทนที่ หน่วยงานดังกล่าว ผบ ผอ จะตั้งเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ศึกษาระเบียบ และประชุมบริหารบุคคลเพื่อหาข้อยุติ ซึ่งจะเป็นผลดีทางการบริหารองค์กรมาก และจะเป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมการทำงานแบบมืออาชีพ แต่ ผบ ผอ กลับ โยน เรื่องดังกล่าว ให้ กรมฯ ชี้ขาด ทั้งๆ ที่กรมฯ มิได้ เป็นเรื่องขัดแย้ง และมิได้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ในการ ที่โต้แย้งกันดังกล่าว จากตรงนี้ มันเลยเกิดอะไรขึ้น มันเลยเกิดวัฒนธรรมการโยน(ขี้) ไงครับ คนที่ทำงานตามเรือนจำ บางคน โดนเพื่อนร่วมงานโต้แย้ง บางทีเกี่ยวกับเรื่อง นิดหน่อย พวกกลับ โยน ไปถามกรมฯ กลายเป็นว่า เรื่อง ขี้ เยี่ยว ปวดหัว เป็นไข้ ถึง กรมฯ หมด ท่านที่อ่านที่ไม่ได้อยู่ในวงการราชทัณฑ์ คง งง หน่อย แต่ท่านผู้อยู่ในแวดวง จะมองเห็นภาพ เอาเป็นว่านี่แหล่ะคือกรมราชทัณฑ์ และคนราชทัณฑ์ เดี๋ยวก่อน ผมขออกตัวสักนิด บางคนที่อ่าน อาจจะเป็นผู้คุมหรือ เป็นบุคคลทั่วไป อาจจะมองว่า เมิงเป็งครายย เก่งกาจมาจากไหน บังอาจ มาวิจารณ์ ชาวบ้านเขา ก็บอกเลยครับ ว่าเป็นผู้คุม ซึ่งหากใครได้ติดตามตั้งแต่ บทความแรกๆ ผมจะบอกเสมอว่า เป็นการเขียนจากประสบการณ์ และเป็นการเขียนตามทัศนะแนวคิดเท่าที่ผมได้เห็นได้สัมผัส และ อยากให้เป็นการอ่านเพลินๆ ไม่ต้องซีเรียส ลองดูซิว่า ไม่แน่ มุมมอง อย่างที่ผมเขียนอยู่ อาจจะเป็นเรื่องที่สะท้อนข้อเท็จจริง บางอย่าง และอาจนำมาซึ่งการพัฒนา องค์กรไปในทิศทางที่ดีก็ได้ ก็ขออกตัวอย่างนี้ บทนี้คงต้องพอก่อน แค่นี้ครับ บาย
นับถือคาระวะ อาจารย์ผู้คุม
ตอบลบถูกใจมากครับเจ้านาย
ตอบลบ