วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มาแล้วครับห้องคุยกันของชาวราชทัณฑ์เรา

คนราชทัณฑ์ กับ งานราชทัณฑ์
มาอีกทีครับ ไปหา ดูเว็บบอร์ดสำหรับ ชาวราชทัณฑ์ เราพบปะพูดคุยกัน แต่เดิมหน้าเว็บกรมราชทัณฑ์ เรามีกระดานข่าวให้พอได้พบปะกันบ้าง แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว ก็เลยคิดว่าน่าจะหาห้องที่เป็นลักษณะเว็บบอร์ดให้เข้ามาคุยกันท่าจะดี ตอนนี้ได้มาแล้วครับ ตามประสาคนไม่มีทุน ต้องขอใช้ของฟรีไปก่อน ทำไว้ 3หมวด ห้องย่อยนิดหน่อย สำหรับชาวราชทัณฑ์คนใหนทำงานด้านใด นัดหมายพบปะกันได้ ตามใจชอบนะครับ ต้องทำความเข้าใจกันอีกอย่างที่ทำบล็อกนี้และเว็บบอร์ดขึ้นมา ไม่มีอะไรครับ หวังเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนสำำหรับชาวราชทัณฑ์เรา ไม่มีอะไรแอบแฝง  จริงๆ อยากรองรับเรื่องเอกสารการทำงานอย่างเดียว แต่ทำแล้วก็เอาไว้พูดคุยกันก็คงดี เคยมั๊ยครับ ทำงานอยู่แล้วติด จะหากฏ ระเบียบ หนังสือที่ใหนมาอ่านประกอบการทำงาน ไม่มีในเว็บกรมฯ ก็มีเฉพาะของกรมฯ ไม่มีอย่างอื่น แต่ผมมีเยอะเลยอยากแจกก็เลยเป็นที่มาของบล็อกนี้ เอ้า เพ้อเจ้อพอสมควรแล้ว ราชทัณฑ์ได เข้ามาแล้ว ก็ลองเข้าไปดู จะเข้าทางเว็บบอร์ดด้านข้าง หรือจะเข้าที่นี่ ก็ ตามนี้เลยครับ  คลิ๊กซะ

ยินดีกับนักนักทัณฑวิทยาที่ได้เลื่อนตำแหน่ง

คนราชทัณฑ์ กับ งานราชทัณฑ์
 วันนี้วันเดียวออกมา 5 คำสั่งรวด แน่นอนมากกรมราชทัณฑ์เรา ยินดีกับนักทัณฑวิทยาผู้ที่ได้เลื่อนตำแหน่ง และดีใจกับผู้ที่ได้ย้ายในคำสั่งชุดนี้ หายไปหลายวันครับ กำลังวางแผนพัฒนาเนื้อหา และกำลัง หาวิธีทำห้องนั่งเล่นแบบเว็บบอร์ดให้พวกเราชาวราชทัณฑ์ได้พบปะพูดคุย นัดหมาย ผ่อนคลาย หรือปรึกษากันในงาน รอสักหน่อยครับ พี่น้องชาวการเจ้าหน้าที่เป็นไงครับ เริ่มตัวชี้วัดภาค 2 แล้ว  เอาผมหงอกมาฝากอีกสักหลายกระจุก อย่าเครียดนะครับ สู้ๆ เพื่อราชทัณฑ์ และ กรมราชทัณฑ์เรา ช่วงนี้ยังไม่มีบทความยาวๆ แต่จะเป็นบทความสั้นๆ แต่จะออกมาหาบ่อยๆ เอาเรื่องเกี่ยวกับงานราชทัณฑ์ เรามาคุยกันดีกว่าเนาะ ท้ายสุดก็สำหรับท่านที่ได้เลื่อนตำแหน่งใหม่ อย่าฉลองกันจนเกินพิกัดนะครับ เดี๋ยวเป็นอะไรก่อนติดบ่านะครับ ไปละครับ
ดาวน์โหลดคำสั่งได้ตามนี้เลยครับ  คำสั่ง1   คำสั่ง2  คำสั่ง3  คำสั่ง4   คำสั่ง5    

อยากได้ กฏ ระเบียบ ที่เกี่ยวกับงานราชทัณฑ์  ขอมาเลยนะครับ จะจัดให้

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วัฒนธรรมการทำงานของคนราชทัณฑ์ 2

คนราชทัณฑ์ กับ งานราชทัณฑ์

ตอนที่แล้ว ว่ากันถึงเรื่องการเอื้อกันในระบบ ของผู้คุม ส่วนกลางกับผู้คุมภูธร ส่วนภูมิภาค ที่ว่าเอื้อกันจนทำให้เกิดวัฒนธรรมการบริหารองค์กร แบบอำนาจนิยมกึ่งเผด็จการ  ตามเรือนจำ ทัณฑสถาน นั้น ที่ว่า มันจึงมีคำถามว่า เอื้อกันอย่างไร  เดี๋ยวว่ากันตามลำดับ  เลยนะครับ  ส่วนที่มาจากกรมฯ คือจากการที่บริหารส่วนใหญ่เติบโตมาจากกรมฯ โดยพกค่านิยมว่า  ผู้คุมในกรมฯ เป็นผู้รู้โดยเฉพาะในเรื่องงานเรือนจำ ทัณฑสถานในแต่ละด้าน  ฉะนั้น เวลาเจ้าหน้าที่ ติดในเรื่องประเด็นใด  ผบ ผอ ก็สั่งลูกน้องง่ายๆ ว่า ให้โทรถามกรมฯ ถามกองที่เขาทำเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ มีหนังสือสั่งการ และระเบียบไว้เรียบร้อยแล้ว  และอีกอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมการทำงาน  ที่อาจจะเรียกได้ว่า เป็นตัวฉุดการเจริญเติบโตขององค์กร คืองานบางอย่าง รูปแบบการปฏิบัติผู้คุมที่อยู่เรือนจำภูธร ไม่กล้าตัดสินใจ ดำเนินการ  ไม่กล้าปล่อยไอเดียร์เพื่อการพัฒนางาน แต่ถูกสั่งให้กลับไปถามกรมฯ ให้ดูรูปแบบจากกรมฯ ทั้งๆ ที่งานที่ออกมานั้น อาจจะดีกว่ากรมฯ ออกแบบด้วยซ้ำ แต่ก็อย่างว่า เมื่อ งานมันเดินย้อนกลับ คนที่อยู่ส่วนกลาง ก็สำคัญตัวเองขึ้นมาทันทีว่า ตนเป็นผู้รู้เป็นคนสำคัญ สามารถสั่งเรือนจำ ทัณฑสถาน ได้  จากประสบการณ์ที่ทำงาน มา ส่วนใหญ่ผู้คุมที่กล้าฉีกแนวคิดและพัฒนางาน มักจะเป็นพวกฮาร์ดคอ  เรียกว่า กบถ เรือนจำ ลักษณะพวกนี้ ทำงานแบบแข็ง  ไม่ค่อยยอมเดินตามตูดนายง่ายๆ พวกนี้มักจะได้รับงานสำคัญเมื่อมีงานในรูปแบบใหม่ๆ และงานนโยบาย จะถูกรีเทิน กลับมาใช้งาน พอหมดงาน ก็ถูกถีบไปอยู่ก้นคุก  จากวัฒนธรรมการทำงานที่เอื้อกันในลักษณะนี้ ทำให้เกิดวัฒนธรรมการเกรงกลัว ส่วนกลาง บางทีส่วนกลางไม่รู้จริงแนะนำผิดบ้างถูกบ้าง เมื่อมีการตำหนิชิ้นงาน  พวก ผบ ผอ เรือนจำ ก็มักจะจวก ผู้ปฏิบัติ ทำให้ผู้ปฏิบัติต้องสำนึกและสำเหนียกว่า คนกรมฯ มีอิทธิพลกับ ผบ ผอ ของตรู มาก  ดังนั้น สิ่งที่เห็นเป็นประจำคือ เมื่อมีการโต้แย้ง ในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ภายในเรือนจำ  เช่น เกี่ยวกับโครงสร้างการเข้าเวร ซึ่งมีรูปแบบ ระเบียบ และหนังสือสั่งการไว้แล้ว  แทนที่ หน่วยงานดังกล่าว  ผบ ผอ จะตั้งเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ศึกษาระเบียบ และประชุมบริหารบุคคลเพื่อหาข้อยุติ ซึ่งจะเป็นผลดีทางการบริหารองค์กรมาก  และจะเป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมการทำงานแบบมืออาชีพ  แต่ ผบ ผอ กลับ โยน เรื่องดังกล่าว ให้ กรมฯ ชี้ขาด ทั้งๆ ที่กรมฯ มิได้ เป็นเรื่องขัดแย้ง และมิได้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ในการ ที่โต้แย้งกันดังกล่าว  จากตรงนี้ มันเลยเกิดอะไรขึ้น มันเลยเกิดวัฒนธรรมการโยน(ขี้) ไงครับ  คนที่ทำงานตามเรือนจำ บางคน โดนเพื่อนร่วมงานโต้แย้ง บางทีเกี่ยวกับเรื่อง นิดหน่อย  พวกกลับ โยน ไปถามกรมฯ กลายเป็นว่า เรื่อง ขี้ เยี่ยว  ปวดหัว เป็นไข้ ถึง กรมฯ หมด  ท่านที่อ่านที่ไม่ได้อยู่ในวงการราชทัณฑ์ คง งง หน่อย แต่ท่านผู้อยู่ในแวดวง จะมองเห็นภาพ  เอาเป็นว่านี่แหล่ะคือกรมราชทัณฑ์  และคนราชทัณฑ์  เดี๋ยวก่อน ผมขออกตัวสักนิด บางคนที่อ่าน อาจจะเป็นผู้คุมหรือ เป็นบุคคลทั่วไป อาจจะมองว่า เมิงเป็งครายย  เก่งกาจมาจากไหน  บังอาจ มาวิจารณ์ ชาวบ้านเขา  ก็บอกเลยครับ ว่าเป็นผู้คุม  ซึ่งหากใครได้ติดตามตั้งแต่ บทความแรกๆ ผมจะบอกเสมอว่า เป็นการเขียนจากประสบการณ์ และเป็นการเขียนตามทัศนะแนวคิดเท่าที่ผมได้เห็นได้สัมผัส และ อยากให้เป็นการอ่านเพลินๆ  ไม่ต้องซีเรียส  ลองดูซิว่า ไม่แน่ มุมมอง อย่างที่ผมเขียนอยู่ อาจจะเป็นเรื่องที่สะท้อนข้อเท็จจริง บางอย่าง และอาจนำมาซึ่งการพัฒนา องค์กรไปในทิศทางที่ดีก็ได้  ก็ขออกตัวอย่างนี้  บทนี้คงต้องพอก่อน แค่นี้ครับ บาย

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วัฒนธรรมการทำงานของคนราชทัณฑ์

คนราชทัณฑ์ กับ ยุทธจักรออนไลน์

ตอนที่แล้วก็ได้เกริ่นไปแล้ว กับการแบ่งประเภทสังคมผู้คุม สำหรับในหัวข้อนี้ จะแบ่งวัฒนธรรมการทำงานของผู้คุมเป็น สองส่วน ส่วนที่หนึ่ง คือผู้คุมที่ทำงาน ในกรมฯ ส่วนที่สองคือผู้คุมที่ทำงานตามเรือนจำ ทัณฑสถาน ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ส่วนแรก วัฒนธรรมการทำงาน จะเป็นรูปแบบอำนาจนิยม คือมันเป็นธรรมชาติที่คนเรา ที่อยู่สภาพการทำงานเป็นลักษณะศูนย์กลาง ทำงานส่วนกลาง อยู่ใกล้กับผู้บริหาร ระดับสูง ใกล้นโยบาย ทำให้ทัศนคติ เบี่ยงเบน ไปตามสภาพของนายที่ตนเองสังกัด ภาพง่ายๆ ที่เห็น ผู้คุมส่วนนี้คนใดที่อยู่กับผู้ตรวจราชการ ก็มักจะทำตัวเป็นผู้ตรวจราชการน้อยด้วย บางคนทำงานอยู่กองนิติการ ฝ่ายกฎหมายแต่ไม่ได้จบกฎหมาย นี่ก็มักจะทำตัวเป็นทนายราชทัณฑ์ มาดใหม่ใหญ่จริงรู้กฎหมายทุกเรื่อง อะไรประมาณนี้ แต่ผู้คุมส่วนนี้ ออกทำงานเรือนจำ ทัณฑสถาน เมื่อไหร่ ตายเรียบ ดีหน่อยที่รู้จักคนในกรมฯ ผบ ผอ ตามเรือนจำ ทัฯฑสถาน เขาก็แต่งตั้งเอาไว้ใกล้ตัว เอาไว้ใช้หาข้อมูลหรือติดต่อข้อมูลจากพวกที่เคยรู้จักในกรมฯ จากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา วัฒนธรรมของคนส่วนนี้ ในการทำงาน ซึ่งเป็นลักษณะอำนาจเจ้าขุนมูลนาย จะถูกถ่ายทอดมาเป็นวัฒนธรรม อำนาจนิยม ตามเรือนจำ ทัณฑสถาน ต่างจังหวัด คือต้องยอมรับว่า ผบ ผอ เรือนจำ ทัณฑสถาน ทั่วประเทศ เกินครึ่งหนึ่ง เติบโตมาจากกรมราชทัณฑ์ คือเติบโตมาจากส่วนกลาง ดังนั้นวัฒนธรรม อำนาจนิยม จึงติดมาด้วย แต่ไม่แค่นั้น สิ่งที่ตามมาจนเป็นวัฒนธรรมของผู้คุม ส่วนที่สองตามภูธรคือวัฒนธรรม อำนาจนิยมกึ่งเผด็จการ จากการที่ ผบ ผอ เรือนจำ ทัณฑสถาน เกินครึ่งหนึ่งที่มาจากกรมฯ ซึ่งมีลักษณะการทำงาน รวมศูนย์อำนาจ เจ้าขุนมูลนาย พอมาเป็น ผบ ผอ ซึ่ง ใหญ่อยู่คนเดียว ในอาณาจักรนี้ ทำให้เกิดอำนาจกึ่งเผด็จการขึ้นมา ท่านที่เป็นผู้คุม ท่านที่เคย อยู่ข้างรั้วเรือนจำ บางครั้งท่านจะเห็นผู้คุมคนหนึ่ง ยืนคุยกับ ผู้คุมอีกคนหนึ่ง ท่านจะรู้ทันทีเลยว่า ระดับใดคุยกับระดับใด (หมายเหตุ ผู้คุมทั้งสองไม่ได้ใส่เครื่องแบบราชการ) ท่านจะเห็นว่าคนหนึ่งยืนคุยในลักษณะ เชิดหน้า มองต่ำด้วยหางตา และพูดจาเสียงดัง กับอีกคนหนึ่งเวลาพูดเอามือกุมกะโปก ซึ่งคงจะกลัวมันหลุดเวลาพูดกับนาย และพูดจาด้วยความเรียบร้อย พูดน้อย ถ้าไปฟังใกล้ ก็จะได้ยินแต่คำว่า ครับ ครับท่าน ครับครับ ได้ครับ ถึงแม้เวลางานเลี้ยงนอกเวลาราชการ ท่านที่ได้รับเชิญไปงานเกี่ยวกับผู้คุมที่เขาจัดเลี้ยง ท่านจะเห็นผู้คุมบางคน นั่งเก้าอี้ มือถือแก้ว คุยกับผู้คุมอีกคนหนึ่งที่คุกเข่ากับพื้นคุยกัน ซึ่งถ้าเข้าไปฟังใกล้ ท่านก็จะได้ยินเหมือนกับผู้คุมที่ยืนคุยกันก่อนหน้านี้ ชัดเจนครับนี่คือวัฒนธรรมของผู้คุมในส่วนที่สอง แต่ในการทำงานผู้คุมในส่วนที่สอง รายได้จะดีกว่าผู้คุมที่อยู่ส่วนกลาง เนื่องจากมีการได้รับค่าตอบแทนหลายอย่าง เช่น ค่าเวรยาม ค่าเสี่ยงภัย เป็นต้น แต่ผู้คุมภูธร ตามเรือนจำ ทัณฑสถาน การแข่งขันสูงมาก แข่งเรื่องอะไร หรือครับ แข่งเรื่อง เข้าหานาย แข่งเรื่อง ความดีเด่นในที่ทำงาน แข่งเรื่อง การได้อยู่ในหน้าที่ที่มีผลประโยชน์ และที่น่าทึ่งที่สุดของคนราชทัณฑ์ภูธร การแข่งขันที่จะขอเป็นคนขับรถให้ ผบ ผอ สูงมาก เชื่อมั๊ยครับ บางคน เมียสั่ง ให้ซื้อรถยนต์ มาหัดขับเลยนะครับ เผื่อ นายจะเรียกใช้ให้ไปขับรถ ประมาณนี้ แต่วัฒนธรรมการทำงานนี้ ก็เอื้อกันในระบบ คือ ที่เป็นอยู่อย่างนี้ ส่วนหนึ่งก็เพราะคนที่มาจากกรม อีกส่วนหนึ่งก็เพราะนิสัยการทำงานของคน ที่อยู่ตามเรือนจำ ทัณฑสถานเอง รายละเอียดเป็นอย่างไร เดี๋ยวว่ากันตอนที่สอง ครับ ต้องไปถอนแล้วครับ อิอิอิ

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ว่าด้วยเรื่องสังคมผู้คุม


ก่อนอื่นต้องขอโทษที่หายไปนาน แต่ไม่เป็นไร ตอนนี้ก็มาแล้ว ตอนแรกกะว่าจะเขียนเรื่องลูกน้อง หมายถึงผู้คุมน้อยผู้ปฏิบัติ ซึ่งคงจะเป็น สองหรือสามบทความ เพราะเรื่องลูกน้องในสังกัดกรมคุก ในแต่ละที่ ก็มีวัฒนธรรมการทำงานที่แปลกมากก  ถึงมากกที่สุด เดี๋ยวมาว่ากัน แต่บทนี้ ขอปูพื้นไว้ก่อน กะจะเล่นเป็นซีรี่ส์เลยนะเนี่ย เอาเป็นว่าตอนนี้ขอตั้งชื่อว่า สังคมคนคุก คนคุกที่นี้ ไม่ได้หมายถึงนักโทษนะ แต่หมายถึงผู้ปฏิบัติงานในสังกัดกรมราชทัณฑ์ ล้วนๆ ก็เรื่องของคนราชทัณฑ์เรานี่แหล่ะ ต้องขออกตัวก่อน ที่ท่านจะได้อ่าน ไม่มีการวิจัย ไม่มีโพล ไม่มีการสำรวจ ใดๆ ไม่ใช่ผลงานทางวิชาการของใคร แต่เป็นผลงานวิจัยของผู้เขียนล้วนๆ (วิจัยเอง อิๆๆ)ตามประสบการณ์ อย่าคิดมาก ถือซะว่าเพื่อความบันเทิง เพราะงานในคุก มันเครียดดด (ผู้คุมเลยต้องถอนทุกวัน) จังซี้มันต้องถอนๆๆ  เอาละว่ากันเลย ผลจากงานวิจัยขอสถาบันคนราชทัณฑ์ สังคมผู้คุมแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่  1. สังคมไฮโซ  2.สังคมฟุ้งเฟ้อ 3.สังคมโลโซ  แล้วแต่ละอย่างมันหมายถึงอะไร เอ้าว่ากันต่อ สังคมแรก สังคมไฮโซ  ซึ่งมีสองพวก พวกแรก ไฮโซแล้วติดหยิ่งมีอำนาจ มองผู้คุมเหมือนกันแบบแบ่งชั้น พวกนี้จะกระจุกอยู่กันมากในกรมราชทัณฑ์ สามารถเห็นได้ทั่วไป แถวท่าน้ำนนท์ (ฮา ) สังเกตุพฤติกรรมติดหยิ่งจากการที่เวลาพวกนี้ออกไปหากินเอ้ยไม่ใช่ออกไปเยี่ยมเรือนจำทัณฑสถานฯ โคตรเก็ก มาดแบบประมาณว่า กรูรร คนกรมฯ พวกมรึงง ผู้คุมเรือนจำคนละระดับ อะไรแบบนี้ พวกที่สองพวกไฮโซติด ฟุ้งเฟ้อ หรูเริด เฟอร์นิเจอร์เพียบ พวกนี้อยู่ตามเรือนจำกลาง เรือนจำพิเศษ ในกรุงเทพ เช่น คลองเปรม บางขวาง พิเศษกรุงเทพ พิเศษธน บำบัด เป็นต้น คือ อยู่ในโซนเรือนจำ ทัณฑสถานส่วนกลาง ที่มีเศรษฐกิจดี พวกนี้มีรายได้เยอะ หากินแบบตัวใครตัวมัน พวกนี้จะมองตัวเองว่า แน่มาก กรูรรอยู่กับผู้ต้องขังรายสำคัญ เฟ้ยย ฮ่าๆๆ อย่าแหยม คน สี่ซ้าห้าพัน คุมได้สบาย ผู้คุมภูธร คุมคนแค่ สามสี่ร้อย แต่ข้าคุมคนเป็นพัน อะไรอย่างนี้ แถมพวกนี้ยังออกอาการดูถูกพวกกรมฯนิดๆ ว่าเอาเปรียบ ผู้คุมพวกนี้มีทุกอย่างเพื่อความหรูเริด ที่บ้านโทรทัศน์ต้อง 32 นิ้ว เครื่องเสียงชั้นดี รถจะขับจะขี่ต้องป้ายแดง การแต่งตัวต้อง เนี๊ยบ วิทยุ เข็มขัด ปฏิบัติการ ประมาณว่ามองเห็นแต่ไกล แล้วอดคิดไม่ได้ว่ามรึงจะไปรบกับใครฟะ สังคมที่สามสังคมแบบโลโซ พวกนี้ในส่วนกลางจะอยู่กระจัดกระจายทั่วไป มีทั้งอยู่ในกรมฯ ในเรือนจำเศรษฐกิจ แต่จะกระจุกตัวอยู่มากที่ภูธร พวกนี้ก็แบ่งเป็น พวกโลโซพอเพียง กับพวกโลโซซกมก พวกโลโซพอเพียงคือพวกไม่โดดไม่เด่นทำงานไปเรื่อยๆ ทำตัวง่ายๆ ไม่มีปัญหา ชอบอะไรเกลียดอะไรไม่แสดงออก คือหยิ่งในแบบโลโซ นายจะมาจะไปกรูไม่สน แต่พวกนี้จะเก่งงาน แต่ไม่ชอบเข้าใกล้นาย วางตัวอยู่ในระดับพอดี ต่างจากพวกโลโซซกมก พวกนี้เห็นได้ชัดจากพฤติการณ์ สติสตังค์ไม่อยู่กับเนื้อกับตัว มาวว ตลอดยี่สิบสี่ มีความเป็นคนพื้นสูง พวกนี้หากไม่เมา จะดูอ่อนน้อมถ่อมตน แต่เมาแล้วฤทธิ์เยอะ ประเภท กรูรร ไม่กลัวใคร ผอบงผอบอ ตรูไม่สน อย่า เล่นกับไอ้เรือง แต่พอหายเมา เงียบ ประเภทป๋าแก่ๆ เข้าคุกแล้วหลับ ออกคุกแล้วพาน้องๆ ผู้คุมเด็กตั้งวงเหล้า เล่นการพนัน ก็อยู่ในประเภทนี้  เอาเป็นว่าปูพื้นแค่นี้ก่อนให้ดูเป็นแบล๊กกราวน์ เดี๋ยวบทความหน้า ไปดูวัฒนธรรมการทำงานกัน ว่าผู้เขียนตั้งแต่ทำงานมาเจอผู้ปฏิบัติแบบใดบ้าง อ่านเพลินๆ นะ อย่าซีเรียส ไปถอนก่อแล้ว จั่งซี้มันต้องถอนๆๆ