วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ระบบแท่งใหม่แต่นิสัยเก่า นิสัยติดบ่า จนแยกไม่ออก 3

จากตอนที่แล้ว จะมองภาพออกอย่างชัดเจนเลยว่า การปรับเปลี่ยน ตำแหน่ง ระดับเดิม (ซีเดิม) เข้าสู่ระบบใหม่ (แท่ง)ซึ่งเป็นกลุ่มตำแหน่ง ของกรมราชทัณฑ์ พิศดารอย่างไร ตอนก่อน เราว่ากันว่า การปรับเปลี่ยนที่เป็นอยู่ เป็นการแบ่งแยกชนชั้น และเป็นการเห็นแก่ตัวของกรมราชทัณฑ์ อันแรกเลย แบ่งแยกชนชั้นอย่างไร เมื่อได้กำหนดตำแหน่งใหม่แล้ว เราก็มาดูกันว่า ตำแหน่งที่ใช้แบบเก่า กับแบบใหม่ อย่างใหนมีความยืดหยุ่นสูงกว่ากัน และีมีผลในการบังคับบัญชาเป็นที่ยอมรับกันได้ ตามลำดับชั้นในการทำงาน คือเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ตำแหน่ง ในที่นี้ จะมีคำนิยามเป็นสองอย่าง 1.คือตำแหน่งชั้นยศที่ติดตามตัว 2.คือตำแหน่งทางการบริหารงาน เช่น ตำแหน่ง ผอ.ส่วน หน.ฝ่าย ฯลฯ ซึ่งเป็นตำแหน่ง ที่ใช้ในการบริหารงานทั่วไป แต่เดิม ตำแหน่ง 7 ว หรือ 8 วช หรือ 9 ชช เป็นตำแหน่ง เฉพาะที่มีอยู่ในส่วนกลาง กรมฯ หรือเรือนจำที่มีโครงสร้างพิเศษ เช่น เรือนจำกลางประจำเขต คลองเปรม บางขวาง เรือนจำพิเศษ ฯลฯ อาจจะมีตำแหน่ง ดังกล่าว และตำแหน่งทั่วไป เดิม จบห. จพง. ตั้งแต่ ระดับ 1-9 เป็นตำแหน่ง สำหรับการบริหารงานในเรือนจำ/ทัณฑสถานฯ เพื่อบริหารงานภายในทั่วไป ซึ่ง เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ จะ อยู่ดำรงตำแหน่ง ลักษณะนี้ แต่หลังจากปรับตำแหน่งใหม่ เสร็จแล้ว กรมฯ ได้วางโครงสร้างตำแหน่งทางการบริหารขึ้น แบบ กินรวบ ไปที่นักวิชาการ ตำแหน่งชำนาญการพิเศษ ให้เป็น ผู้อำนวยการส่วน แทบทุกเรือนจำ ยกเว้น เรือนจำที่มีผู้บริหารผู้บัญชาการในระดับ 8 เดิม ให้เป็น อำนวยการระดับต้น จากเดิม ตามเรือนจำ/ทัณฑสถานฯ ไม่เคยมีตำแหน่งนักวิชาการ มาทำหน้าที่บริหาร ซึ่งงานเรือนจำ/ทัณฑสถาน เป็นงานปฏิบัติการ มิใช่งานแผนนโยบาย กลับกลายเป็นว่า กรมฯ ตั้งบรรทัดฐาน ให้ ตำแหน่งทางโครงสร้าง เป็นชำนาญการพิเศษ ทั้งหมด รวม พวก จบห.8 เดิมด้วย ทำให้เกิดคำถามตามมา ว่า ตำแหน่งพวกนี้ สงวนสิทธิให้ผู้จะขึ้นมาทีหลังต้องเป็นนักวิชาการอย่างเดียว....ใช่หรือไม่.... ตอนนี้ผู้คุมแตกเป็นสองส่วน แล้ว คือส่วนที่เป็นทั่วไป และส่วนที่เป็นนักวิชาการ เป็นการกดขี่ ทางการบริหารโดยใช้ตำแหน่งหรือไม่ ผู้อ่านคิดเอง... นี่ถ้าไม่เรียกว่าเห็นแก่ตัว ของคนในกรมฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นตำแหน่งนักวิชาการ จะเรียกว่า อะไร ตอนนี้ ก็มีคำถาม จากผู้คุมประเภททั่วไป ว่า ความก้าวหน้าของเขาอยู่ใหน คนที่ครองตำแหน่ง ชำนาญงาน เมื่อขึ้น อาวุโส แล้ว ไปใหนต่อ จะขึ้น ผอ.ส่วน ได้ใหม ตอนนี้ผมเชื่อแน่ว่า กรมฯ ก็ตอบไม่ได้ ก็กรมฯ เล่น เอาชำนาญการพิเศษไปขวางในตำแหน่ง ผอ.ส่วน ทั้งประเทศแล้ว บางคน อาจจะเหลืออายุราชการ เหลืออยู่ มากกว่า 15 ปี จะให้เขาไปอยู่ใหน แรงจูงใจไม่มี จะทำงานกันอย่างไรในอนาคต อันนั้นคือตัวอย่าง ระดับบริหาร แต่ระดับ ปฏิบัติหละ เอ้า...ลองอ่านดู แต่เดิม ผู้เข้าบรรจุใหม่ระดับ 1 หรือ 2 ปฏิบัติงาน เฉลี่ย 5-7 ปี ได้ระดับ 3 อาจได้เป็นหัวหน้างาน ในบางเรือนจำ ก็สุดแล้วแต่ ในช่วง 5-7 ปี ปรากฏว่า มีนักทัณฑ์ มาบรรจุ เริ่มที่ ระดับ 3 มาฝึกงาน ร่วมกัน พอครบ 2 ปี ก็ประเมิน ระดับ 4 ซึ่งผู้ที่ทำงานก่อน ที่เป็นสาย ปฏิบัติ ก็ อาจจะได้ขึ้นระดับ 4 เช่นกัน คือเฉลี่ย ในช่วง 3 ปี ที่ทำงาน ก็ยังพอเป็นที่ยอมรับกันได้ ในการทำงาน พอครบปีที่ 5 ของสายวิชาการ เขาก็ประเมิน ระดับ 5 สายทั่วไป ก็อาจจะได้ระดับ 5 ด้วย เนื่องจากการทำงานที่อายุงานนาน ตามลำดับความก้าวหน้า แต่ ผู้ปฏิบัติ สายทั่วไป ยังได้เป็น หัวหน้างานอยู่ ซึ่งก็ยอมรับกันได้ พอเข้าปีที่ 6 หรือ 7 ของสายวิชาการ เขาประเมิน 6 ว. ในขณะที่สาย ทั่วไป นิ่ง เนื่องจากการขึ้นระดับ 6 ต้องรอเปิดสอบ จนท.สายวิชาการ ก็ถูกตั้งเป็นหัวหน้างานตาม ระดับ ก็ยังยอมรับกันได้อยู่ เฉลี่ยแล้ว สองสายนี้ ทำงาน ต่างกันอยู่ระยะ 2 - 3 ปี เมื่อมีการไต่ลำดับความก้าวหน้าก็สามารถยอมรับกันได้ เนื่องจากการใหลของแต่ละสายในการปฏิบัติงาน เป็นช่วงที่ยาวนาน เฉลี่ย คนแรก สายทั่วไป ทำงาน 10 ปี สาย วิชาการ ทำงาน เฉลี่ย ที่ 7-8 ปี ก็สมดุลกันดี สามารถสร้างความสัมพันธ์ ในการทำงานลดความรู้สึกแตกต่าง และยอมรับกันได้ ในการบริหารงาน แต่ปัจจุบัน สายทั่วไป เริ่มบรรจุ ติดบ่า 2 ดาว สายวิชาการ เริ่มบรรจุ ติดบ่า 3 ดาว ระยะเวลาเลื่อน สายทั่วไป ไม่น้อยกว่า 6 ปี สายวิชาการ ไม่น้อยกว่า 5 ปี สองคนนี้ สายแรก เมื่อครบอายุการเลื่อน เขาติดบ่า ชำนาญงาน แบบ ระดับ 6 เดิม แต่ สายที่ สอง ติดบ่า แบบระดับ 7 เดิม ในการทำงานเพียง ห้าปี ดูช่วงระยะเวลาตัวอย่างข้างบนกับที่ว่ากันอยู่นี้ นะครับ น้อยมากในความรู้สึกที่จะเกิด 1. ไม่ยอมรับความสามารถ 2. ความสัมพันธ์ทางการบริหารแทบไม่เกิดเลย 3. ความรู้สึกน้อยใจในการปฏิบัติงาน และความแปลกแยก จะเกิดขึ้นทันที และคำถามอีกอันหนึ่งที่ กรมฯ ต้องตอบให้ได้ คือ สายวิชาการทำงาน มา 5 ปี ติดชั้น พิเศษ ซึ่งทำหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน กับ สายทั่วไป ทำงานมา 15 ปี ระดับ ชำนาญงาน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่าย หรือหัวหน้างาน จะต้องถูกลดลำดับการปฏิบัติหน้าที่ตามอย่างนั้นหรือไม่ ช่วยตอบทีพระเดชพระคุณ หากให้เด็กสายวิชาการ กลับมาเป็นหัวหน้างานหรือหัวหน้าฝ่ายแทน จะบังคับบัญชากันได้หรือไม่ .... ท่านผู้อ่านโดยเฉพาะผู้คุมลองคิดดู บทความนี้ อาจยาวไปหน่อย แต่ก็พยายาม บรรยายให้เห็นภาพมากที่สุด ก็สุดแล้ว แต่ผู้อ่านจะพิจารณานะครับ คงพอแค่นี้ก่อน

1 ความคิดเห็น:

  1. ยังสงสัย ช่อ ของตำแหน่งนักวิชาการ ซึ่งบรรจุมาไม่ถึง 3 ปี ก็ได้ตำแหน่งนักวิชาการ เครื่องเครื่องราชฯ ยังไม่ได้ แต่มีช่อใต้ดาว 1 ดวง( คือระดับ 7 สมัยใช้ระบบซี ) มันคืออะไรกันแน่...ซึ่ง ผู้บัญชาการระดับ 8 ต่างกับนักวิชาการที่ทำงานไม่ถึง 5 ปีที่ยังไม่ได้รับเครื่องราชฯ แค่ดาวดวงเดียว....เอง

    ตอบลบ