วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ว่าด้วยเรื่องจ้าวนาย 2

บทความที่แล้ว ได้บอกไปว่า การปรับเปลี่ยนระบบซีเดิมเป็นระบบแท่ง พฤติกรรมจ้าวนาย เป็นอย่างไร และวิสัยทัศน์เป็นอย่างไร นี่เป็นส่วนเล็กๆ หนึ่งนะครับ ว่ากันต่อ ท่านที่เคยทำงานกับนายหลายท่าน ท่านเคยสังเกตบ้างมั๊ยว่า จ้าวนาย ผบ ผอ กรมราชทัณฑ์ เขามีวัฒนธรรม ที่เป็นรูปแบบแทบจะก็อปกันมาเลย แบบใหน ผมวิเคราะห์แบบคนอยู่เรือนจำ ก็แล้วกัน 1.สร้าง 2.เสียง 3.สื่อ 4.สับสน 5.เส้นสาย 6.สอพลอ เริ่มจากข้อ 1 ท่านที่อยู่เรือนจำ ทส จะเห็นได้เลยว่าเวลา ผบ ผอ ย้ายมาใหม่ ไม่เกิน 3 เดือน ต้องมีโปรเจ็ค ไม่สร้าง ก็ทุบ เข้าใจว่าเป็นพฤติกรรมเอาอย่าง จนเรือนจำบางที่ จากมีพื้นที่ปลูกต้นไม้ กลายเป็นปูนหมดทั้งเรือนจำ แม้แต่สนามกีฬา หญ้าสวยๆ ก็เทปูนเรียบ อาคารสร้างขึ้นจนแทบไม่เห็นพื้นที่หายใจ เข้าใจครับพอสร้างก็เป็นผลงาน จ้าวนายหญ่ายยย ในกรมฯ ก็มาเปิด ทำพิธีเอิกเกริก ผลาญงบประมาณ แต่ท่านผู้คุมผู้ปฏิบัติจงจำไว้ นี่คือวิถีการทำผลงานของท่านจ้าวนายเรา ข้อ 2 เสียง ย้ายมาแรกๆ ไม่รู้จักใคร ก็พูดจาประมาณไว้ท่าวางมาดวางตัวกันไป แต่พอเข้าระยะ 6-8 เดือน เสียงเริ่มดังแล้วครับ องค์ ลงบ่อยมาก แต่ที่ผมเคยเห็นคือพฤติการณ์ของผู้บริหารบางท่าน ใช้คำพูดกับเจ้าหน้าที่ แบบ ภาษาพ่อขุน ที่สำคัญต่อหน้าคนอื่น ทั้งประชาชน และเพื่อนร่วมงาน ทั้งที่ทำงาน และทางโทรศัพท์ คือเป็นผู้ใหญ่ น่าจะนิสัยพอพึ่งได้ค่อยพูดค่อยจา มีเหตุมีผล แต่ประเภทนี้วีนแหลก เสียงดัง ข้าหย่ายยย ผู้ชายก็มี ผู้หญิงก็มี ท่านผู้คุมน้อย ก็พยายามอย่าทำให้ท่านพิโรธ ก็แล้วกัน ข้อ 3 สื่อ ตอนที่แล้วผมได้บอกไปว่า ผบ ผอ บางคน ไม่เป็นอ่าเป็นทะเลเลย ในเรื่องหนังสือ นโยบาย พอหนังสือมา ฝ่ายบริหาร เกษียณ หนังสือ เข้าห้อง ท่านก็เซ็นต์ มาไม่รู้อ่านหรือเปล่า บางเรื่องกรมฯ สั่งให้รายงานวันที่ 1 แต่หนังสือมาวันที่ 5 ประมาณ วันที่ 10 กรมฯ โทรมาหาท่าน ท่านไม่ดูเรื่องเก่าครับ ท่านเรียกมาเช็คบิลกันเลย อธิบายก็ไม่ฟัง แล้วอีกอย่างที่เป็นพฤติการณ์จ้าวนายที่ผมเห็นว่า ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย คือ เรือกที่จะฟังแต่คนที่อยู่ใกล้ตัว ไม่ฟังคนที่ทำงาน เช่น ผมโดนมอบหมายให้ไปอบรมเรื่องการคุมประพฤติ กลับมาผมก็นำมาปฏิบัติและพรีเซ๊นต์ ให้ฟังในที่ประชุม บริหาร ปรากฏว่า ผอ ซ้ายขวา ซึ่งเป็นประเภทตกยุคไม่ทันการ ก็พูดขัดว่า อย่างนี้ไม่เคยมี ผมทำงานมา 80 ปีแล้ว ไม่เคยเห็นเรือนจำเขาไม่ทำกันหรอก คุณไปอบรมมามั่วหรือเปล่า ทั้งๆ ที่มีหนังสือสั่งการนะครับ ผมก็อ้างไป นี่เรื่องจริง แถมประชุมเสร็จ คนนั่งหัวโต๊ะเรียกผมไปต่อว่าเฉยเลย(ในห้องส่วนตัวนะครับ) ว่าคุณอย่าไปเถียงท่านต่อหน้า คณะกรรมการให้เกียรติท่านหน่อย อะไรอย่างนี้กลายเป็นตรูผิดอีก เฮ้อออ.. เอาข้อ 4 ต่อ สับสน บางท่านย้ายมาใหม่ ลูกน้องจากที่เก่าการันตีเลยว่า โอ้ย ท่านโคตะระดีเลย เป็นผู้ใหญ่ พอมาบริหารที่ใหม่ ซึ่งอย่าลืมนะครับ ว่าเรือนจำ ทส มีรูปแบบวัฒนธรรมการทำงานต่างกันไปในเรื่องปลีกย่อย แต่รูปแบบใหญ่เหมือนกัน เช่น เรือนจำ ทส บางแห่ง อาจเป็นวัฒนธรรมที่ลูกน้องทุกคนต้องเข้าหาจ้าวนาย เพื่อแสดงตัวเป็นพุทธมามกที่ดี แต่บางแห่ง อยู่แบบตัวใครตัวมัน บางแห่งมีเจ้าพ่อคาราโอเกะมากมาย เป็นต้น พออยู่ไป มันไม่เหมือนที่เดิมสิครับ จากคนที่ ที่เก่าการันตีว่าโคตรดี พอมานี่ เหมือนเด็กมีปัญหา ไม่คุยกับใคร อยู่แต่ในห้อง หิวก็โทรสั่ง ร้านค้า แถมบอกหน้าห้อง หากไม่มีเรื่องคอขาดบาดตาย ไม่ต้องให้เข้าพบ ไปพบกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องแทน ปัญหาที่ตามมาคือ พอ เบอร์ 1 ปล่อยเบอร์ รอง ทำงาน มันส์เลยครับ ใช้อำนาจกันเกร่อ แกล้งกันสารพัด เข้าเวรสาย 1 นาที ชี้แจง พูดไม่เพราะ ชี้แจง ตรู เป็น ผอ ส่วน เดินสวนมาไม่ไหว้ ชี้แจง สารพัด ผมท้าได้เลย ตอนนี้หลายท่าน หลายเรือนจำ ทส กำลังเจอแบบนี้ อยู่ โดยเฉพาะ เรือนจำ ทส ที่พึ่งถูกยกเทียบ ระดับ 9 และ มี ผอ ส่วน เป็นกันเยอะ ข้อ 5 + ข้อ 6 ผบ ผอ ประเภทนี้ มีที่มาและมีที่ไป ย้ายมาเพราะแค่เป็นทางผ่าน ไม่มีที่ลง รอลูกพี่จัดโผ ให้เป็น ผบ พวกนี้มาบริหาร ยิ่งกว่าเกียร์ว่าง มาเรือนจำ ทส แบบนับวันทำงานได้ คอยแต่เช็คว่า ผู้ใหญ่จะมาโซนที่ตนอยู่หรือเปล่า จะต้องไปเสนอหน้า ก็รถหลวง+น้ำมันหลวง นั่นแหละ วันเกิดคุณนายท่านรอง วันเกิดท่านรอง วันนี้ท่านรองว่าง พาครอบคัรวมาไหว้พระแถวนี้ ต้องรีบ ติดสเก็ต ไปเข้าเฝ้า งานเรือนจำ ปล่อยลูกน้อง เบอร์สอง เบอร์สามก็สนุกกันใหญ่ ก็เบอร์ 1 ไม่อยู่ แล้วกรูจะอยู่เฝ้าคุกทำไม ก็เป็นภาร ของผู้คุมน้อยอีกเช่นเคย ทั้ง 5 ข้อ ท่านรองแอบนึกๆดูนะครับ ท่านต้องเจอแบบใดแบบหนึ่ง 1 ใน 5 นี่แหละ แน่นอน เจอมากน้อย ขึ้นอยู่กับวาสนาของแต่ละท่านผู้ปฏิบัติว่าได้ทำบุญร่วมชาติกันมาก่อนหรือเปล่า แต่ท่านที่ไม่เป็นอย่างที่ผมว่า ก็เยอะนะครับ นี่เป็นแค่เพียงแนวคิดเห็นส่วนบุคคลนะครับ อ่านพอเพลิน อ่านสนุกๆ นินทานายในวงเหล้า หนักกว่านี้ นี่เอามานิดหน่อย ท่านผู้คุมไม่ว่าระัดบใด มีบทความ ดีๆ ที่ท่านเขียนเอง หรือมีความข้องใจในเรื่องอะไรบางเรื่องที่อยากจะเล่าสู่กันฟังก็ ส่งมานะครับ ผมยินดีเป็นเวทีให้ ไปก่อนครับ เดี๋ยว ตอนหน้า เรื่อง ลูกน้องบ้าง

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ว่าด้วยเรื่องจ้าวนาย

คนที่เป็นผู้คุม หลายคน ที่อยู่เรือนจำ ทัณฑสถาน หรืออยู่กรม มานาน ทำงานผ่านหลายนายหลาย ผอ ผบ และจะเห็นสไตล์ การทำงานด้านการบริหารของแต่ละคน ซึ่งบอกตามตรงเลยหลังจากที่ได้ทำงานด้วย บางจ้าวนาย เรามักจะมีความคิดว่า มัง สอบมาเป็น ผอ ผบ ได้ไงฟะ วิสัยทัศน์ โคตะระ สั้น วิชั่น ก็ด้วน เหมือนหางเป็ด มนุษย์สัมพันธ์ กับลูกน้องเป็นแบบตัวใครตัวมัน ผลประโยชน์เอาหมด แต่ความผิดไม่เอา เสี่ยงตรูไม่เอา ให้ลูกน้องเสี่ยงแทน วัฒนธรรมเดิมๆ ของผู้คุมเท่าที่นิยามได้ นายมาก่อน ใครโตต้องยอมรับ อยู่ใกล้นายได้ดีที่สุด ผบ ผอ บางคน ตอนทำงานอยู่กรม มีผลงานน่าชื่นชมเป็นที่ยอมรับมาก บางคนได้รางวัลนั่น นี่ มากมาย แต่พอออกมาเป็น ผบ ผอ เรือนจำ ทัณฑสถาน ขอโทษ ทำงานแบบ สุนัขไม่รับประทาน คนเก่งก็มีเยอะนะครับ นี่ว่าเป็นบางคน และบางคนของกรมราชทัณฑ์ ดัน เป็นส่วนใหญ่ ซะด้วย ต้องยอมรับกันครับว่า ระบบการเติบโตของ ผบ ผอ ที่ผ่านมาเป็นระบบเส้นสาย อาศัยลูกดัน อาศัยลูกพี่ และมันนี่ คิดเป็นเปอร์เซนต์ เกิน 50 เปอร์เซนต์ เป็นที่เห็นกันอยู่ อีกประมาณ 15 เปอร์เซนต์ กาข้อสอบแม่น อีกประมาณ 25 เปอร์เซนต์ เก่งจริง นี่เป็นโพลจากความคิดเห็นส่วนตัวโดยประสบการณ์ตรง ที่มีโอกาสได้ทำงานกับ ผอ ผบ หลายท่าน พวกที่เก่งจริง ต้องเก็บวิชานะครับ บางท่าน พูดไม่เก่ง แต่ แนวคิดวิธีทำงานด้านวิชาการ ขั้นเทพ แต่ดันเป็นเทพองค์เดียว คือรู้คนเดียว ถ่ายทอดให้ลูกน้องไม่ได้ หาคนครบเครื่องยากส์สสส บางคน ไม่เก่งเลยทั้งวิชาการ นโยบาย แต่ได้ลูกน้องเก่ง ก็รอดตัวไป ที่เขียนบทความนี้ คือ ผมรู้สึกว่า ในช่วงรอยต่อ ของการบริหารบังคับบัญชา ตามระบบแท่งใหม่ และ แบบซีเดิม มันเริ่มเห็นข้อแตกต่างอะไรบางอย่าง การปรับเปลี่ยน ระบบตัวชี้วัดก็ดี การใช้ระบบการประเมินตัวบุคคลแบบรายตัวชี้วัด ก็ดี มันทำให้เห็นตัวตนที่แท้จริงของ ผอ ผบ แบบสุดๆ เลยครับ ไม่เชื่อท่านลองสังเกต ผบ ผอ ที่อยู่ใกล้ตัวท่าน ถ้าสิ่งที่ท่านสังเกตเห็น ผบ ผอ ท่านใด ที่พยายามเรียนรู้ และปรับตัวตามระบบ ผมถือว่า ยังใช้ได้อยู่ แต่ เท่าที่เห็นนะครับ ผมเป็นผู้คุม ที่อยู่ในกลุ่มเรือนจำ ที่มีหลายเรือนจำในจังหวัดเดียว จะเห็น ผบ ผอ หลากหลาย ที่ยังน่าเป็นห่วงคือ ผอ ผบ บางคน ไม่เรียนรู้ และไม่เข้าใจ ระบบ โยนให้ลูกน้องทำอย่างเดียว เมื่อมีปัญหาขึ้นมา มันไม่มีคนกลางเป็นคนตัดสิน ซึ่งควรจะเป็น ผอ ผบ เหล่้านั้น แต่ด้วยความไม่รู้ มันก็เลยเกิดปัญหาว่า คนทำงานไปแล้ว ต้องมานั่งตอบคำถาม และอธิบายให้เพื่อนร่วมงานฟัง ฟังแล้วมันสรุปไม่ได้ เอากันแบบเห็นๆ เลยคือเรื่อง การทำประเมินตัวชี้วัดระบบเงินเดือนใหม่ รายบุคคล ซึ่ง การทำงานระบบนี้ จะต้องแบ่งแนวคิดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง คือการวัดตัวชี้วัดระดับหน่วยงาน คือการวัด ผบ ผอ หัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งเป็นภาพรวมของหน่วยงานทั้งหมด และส่วนที่สองคือการวัด ระดับบุคคล เพื่อประเมินในการเลื่อนเงินเดือน ในแต่ละรอบประเมิน ในด้านหน่วยงานและหัวหน้าส่วนราชการ จะถูกตั้งตัวชี้วัดหลัก ประมาณ 7-8 ตัว ตาม ขนาด เรือนจำ ทส และมีตัวชี้วัดย่อย อีกประมาณ เกือบ 45-50 ตัว ซึ่งเป็นตัวชี้วัด ระดับสำนักกองต่างๆ ในกรมฯ ซึ่งเอามายำรวมกัน แต่สรุปมันก็คือตัวชี้วัด กลุ่มเดียวกัน แต่แยกผู้ประเมินตามลักษณะงาน และสำนักที่รับผิดชอบ การดำเนินงาน ก็เพียงแต่เอาตัวชี้วัดที่เข้ากับลักษณะงานที่เป็นตัวชี้วัดจากส่วนกลางมาตั้งเสียก่อน แล้วจึงคิดตัวชี้วัดเพิ่มเติม กรณีที่ไม่มีตัวชี้วัด พื้นฐาน นี่คือลักษณะการดำเนินงานรูปแบบใหม่ แต่ แม่เจ้า ผบ ผอ บางคน ไม่กระดิก เลยครับ ไม่สนใจ ไม่ศึกษา ผมเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้ ผมเจอคำถามจาก ผอ ท่านหนึ่ง ว่า การให้เปอร์เซ็นต์ ลูกน้องในส่วนผม ผมให้ไปเลยได้มั๊ย แล้ว ไปแปลงเอกสารเอา อึ้งครับ ถึงกับอึ้งครับ ยังมีอีกนะครับ อีกท่านหนึ่ง บอกว่า ลูกน้องผมคนนี้ ผมขอขั้นพิเศษ ได้มั๊ย โอ้ว ท่านไม่รู้เลยหรือครับ ว่า ระบบใหม่ เป็นเปอร์เซนต์(คิดในใจ) ที่เขาออกแบบมาก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ตามปรัชญา คือ เขาต้องการให้เกิดความเป็นธรรมกับคนทำงานที่ จ้าวนาย ไม่ชอบขี้หน้า แต่ทำงานดี และคนที่ทำงานจริงๆ และเขาต้องการให้ นายที่นิสัยเสียทั้งหลายที่ชอบเอาขั้นมาอ้างเพื่อกดขี่ และแยกความเหลื่อมล้ำ กันในการทำงานออกจากระบบ ก็ทำใจครับ บางท่านยังหลงยุคอยู่ ผบ บางท่าน บอกเลย เป็น อ.สูง ถึงกับพูดในที่ประชุมประจำเดือนเลยว่า ระบบนี้ ไม่เป็นธรรม เดี๋ยวเขาก็เลิก มันใช้ไม่ได้หรอก นี่ขนาด หัวหน้าส่วนราชการพูดให้ลูกน้องฟังอย่างนี้ มันหดหู่ครับ ระเบียบ กพ. มันเป็นกฏหมาย ซึ่งเขาให้ใช้ และออกกฏ ต่างๆ มาเพื่อประกอบการใช้ให้มันราบรื่น คือ มันต้องใช้ แทนที่จะศึกษาและทำความเข้าใจกับลูกน้อง ให้เกิดความตื่นตัว กลับบอกหน้าตาเฉยเลยว่า มันไม่ได้ผล เดี๋ยวเขาก็เลิก นี่เขาเรียกว่า กบในกะลาหรือเปล่า ข้าราชการพลเรือนทุกกระทรวงทบวงกรม ใช้หมด ลงตัวหมด ทั้งระบบความก้าวหน้า ทั้งรูปแบบการบริหาร แต่ของกรมราชทัณฑ์ ยัง งง ๆ อยู่ งงแบบใหน ให้ย้อนไปอ่านบทความก่อนหน้านี้ นี่คือการสะท้อนให้เห็นแนวคิดการทำงานของจ้าวนาย ของกรมราชทัณฑ์ ในมุมมองของผม เดี๋ยวมีต่อตอนสอง เอาไว้แค่นี้ก่อนครับ

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ระบบแท่งใหม่แต่นิสัยเก่า นิสัยติดบ่า จนแยกไม่ออก 3

จากตอนที่แล้ว จะมองภาพออกอย่างชัดเจนเลยว่า การปรับเปลี่ยน ตำแหน่ง ระดับเดิม (ซีเดิม) เข้าสู่ระบบใหม่ (แท่ง)ซึ่งเป็นกลุ่มตำแหน่ง ของกรมราชทัณฑ์ พิศดารอย่างไร ตอนก่อน เราว่ากันว่า การปรับเปลี่ยนที่เป็นอยู่ เป็นการแบ่งแยกชนชั้น และเป็นการเห็นแก่ตัวของกรมราชทัณฑ์ อันแรกเลย แบ่งแยกชนชั้นอย่างไร เมื่อได้กำหนดตำแหน่งใหม่แล้ว เราก็มาดูกันว่า ตำแหน่งที่ใช้แบบเก่า กับแบบใหม่ อย่างใหนมีความยืดหยุ่นสูงกว่ากัน และีมีผลในการบังคับบัญชาเป็นที่ยอมรับกันได้ ตามลำดับชั้นในการทำงาน คือเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ตำแหน่ง ในที่นี้ จะมีคำนิยามเป็นสองอย่าง 1.คือตำแหน่งชั้นยศที่ติดตามตัว 2.คือตำแหน่งทางการบริหารงาน เช่น ตำแหน่ง ผอ.ส่วน หน.ฝ่าย ฯลฯ ซึ่งเป็นตำแหน่ง ที่ใช้ในการบริหารงานทั่วไป แต่เดิม ตำแหน่ง 7 ว หรือ 8 วช หรือ 9 ชช เป็นตำแหน่ง เฉพาะที่มีอยู่ในส่วนกลาง กรมฯ หรือเรือนจำที่มีโครงสร้างพิเศษ เช่น เรือนจำกลางประจำเขต คลองเปรม บางขวาง เรือนจำพิเศษ ฯลฯ อาจจะมีตำแหน่ง ดังกล่าว และตำแหน่งทั่วไป เดิม จบห. จพง. ตั้งแต่ ระดับ 1-9 เป็นตำแหน่ง สำหรับการบริหารงานในเรือนจำ/ทัณฑสถานฯ เพื่อบริหารงานภายในทั่วไป ซึ่ง เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ จะ อยู่ดำรงตำแหน่ง ลักษณะนี้ แต่หลังจากปรับตำแหน่งใหม่ เสร็จแล้ว กรมฯ ได้วางโครงสร้างตำแหน่งทางการบริหารขึ้น แบบ กินรวบ ไปที่นักวิชาการ ตำแหน่งชำนาญการพิเศษ ให้เป็น ผู้อำนวยการส่วน แทบทุกเรือนจำ ยกเว้น เรือนจำที่มีผู้บริหารผู้บัญชาการในระดับ 8 เดิม ให้เป็น อำนวยการระดับต้น จากเดิม ตามเรือนจำ/ทัณฑสถานฯ ไม่เคยมีตำแหน่งนักวิชาการ มาทำหน้าที่บริหาร ซึ่งงานเรือนจำ/ทัณฑสถาน เป็นงานปฏิบัติการ มิใช่งานแผนนโยบาย กลับกลายเป็นว่า กรมฯ ตั้งบรรทัดฐาน ให้ ตำแหน่งทางโครงสร้าง เป็นชำนาญการพิเศษ ทั้งหมด รวม พวก จบห.8 เดิมด้วย ทำให้เกิดคำถามตามมา ว่า ตำแหน่งพวกนี้ สงวนสิทธิให้ผู้จะขึ้นมาทีหลังต้องเป็นนักวิชาการอย่างเดียว....ใช่หรือไม่.... ตอนนี้ผู้คุมแตกเป็นสองส่วน แล้ว คือส่วนที่เป็นทั่วไป และส่วนที่เป็นนักวิชาการ เป็นการกดขี่ ทางการบริหารโดยใช้ตำแหน่งหรือไม่ ผู้อ่านคิดเอง... นี่ถ้าไม่เรียกว่าเห็นแก่ตัว ของคนในกรมฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นตำแหน่งนักวิชาการ จะเรียกว่า อะไร ตอนนี้ ก็มีคำถาม จากผู้คุมประเภททั่วไป ว่า ความก้าวหน้าของเขาอยู่ใหน คนที่ครองตำแหน่ง ชำนาญงาน เมื่อขึ้น อาวุโส แล้ว ไปใหนต่อ จะขึ้น ผอ.ส่วน ได้ใหม ตอนนี้ผมเชื่อแน่ว่า กรมฯ ก็ตอบไม่ได้ ก็กรมฯ เล่น เอาชำนาญการพิเศษไปขวางในตำแหน่ง ผอ.ส่วน ทั้งประเทศแล้ว บางคน อาจจะเหลืออายุราชการ เหลืออยู่ มากกว่า 15 ปี จะให้เขาไปอยู่ใหน แรงจูงใจไม่มี จะทำงานกันอย่างไรในอนาคต อันนั้นคือตัวอย่าง ระดับบริหาร แต่ระดับ ปฏิบัติหละ เอ้า...ลองอ่านดู แต่เดิม ผู้เข้าบรรจุใหม่ระดับ 1 หรือ 2 ปฏิบัติงาน เฉลี่ย 5-7 ปี ได้ระดับ 3 อาจได้เป็นหัวหน้างาน ในบางเรือนจำ ก็สุดแล้วแต่ ในช่วง 5-7 ปี ปรากฏว่า มีนักทัณฑ์ มาบรรจุ เริ่มที่ ระดับ 3 มาฝึกงาน ร่วมกัน พอครบ 2 ปี ก็ประเมิน ระดับ 4 ซึ่งผู้ที่ทำงานก่อน ที่เป็นสาย ปฏิบัติ ก็ อาจจะได้ขึ้นระดับ 4 เช่นกัน คือเฉลี่ย ในช่วง 3 ปี ที่ทำงาน ก็ยังพอเป็นที่ยอมรับกันได้ ในการทำงาน พอครบปีที่ 5 ของสายวิชาการ เขาก็ประเมิน ระดับ 5 สายทั่วไป ก็อาจจะได้ระดับ 5 ด้วย เนื่องจากการทำงานที่อายุงานนาน ตามลำดับความก้าวหน้า แต่ ผู้ปฏิบัติ สายทั่วไป ยังได้เป็น หัวหน้างานอยู่ ซึ่งก็ยอมรับกันได้ พอเข้าปีที่ 6 หรือ 7 ของสายวิชาการ เขาประเมิน 6 ว. ในขณะที่สาย ทั่วไป นิ่ง เนื่องจากการขึ้นระดับ 6 ต้องรอเปิดสอบ จนท.สายวิชาการ ก็ถูกตั้งเป็นหัวหน้างานตาม ระดับ ก็ยังยอมรับกันได้อยู่ เฉลี่ยแล้ว สองสายนี้ ทำงาน ต่างกันอยู่ระยะ 2 - 3 ปี เมื่อมีการไต่ลำดับความก้าวหน้าก็สามารถยอมรับกันได้ เนื่องจากการใหลของแต่ละสายในการปฏิบัติงาน เป็นช่วงที่ยาวนาน เฉลี่ย คนแรก สายทั่วไป ทำงาน 10 ปี สาย วิชาการ ทำงาน เฉลี่ย ที่ 7-8 ปี ก็สมดุลกันดี สามารถสร้างความสัมพันธ์ ในการทำงานลดความรู้สึกแตกต่าง และยอมรับกันได้ ในการบริหารงาน แต่ปัจจุบัน สายทั่วไป เริ่มบรรจุ ติดบ่า 2 ดาว สายวิชาการ เริ่มบรรจุ ติดบ่า 3 ดาว ระยะเวลาเลื่อน สายทั่วไป ไม่น้อยกว่า 6 ปี สายวิชาการ ไม่น้อยกว่า 5 ปี สองคนนี้ สายแรก เมื่อครบอายุการเลื่อน เขาติดบ่า ชำนาญงาน แบบ ระดับ 6 เดิม แต่ สายที่ สอง ติดบ่า แบบระดับ 7 เดิม ในการทำงานเพียง ห้าปี ดูช่วงระยะเวลาตัวอย่างข้างบนกับที่ว่ากันอยู่นี้ นะครับ น้อยมากในความรู้สึกที่จะเกิด 1. ไม่ยอมรับความสามารถ 2. ความสัมพันธ์ทางการบริหารแทบไม่เกิดเลย 3. ความรู้สึกน้อยใจในการปฏิบัติงาน และความแปลกแยก จะเกิดขึ้นทันที และคำถามอีกอันหนึ่งที่ กรมฯ ต้องตอบให้ได้ คือ สายวิชาการทำงาน มา 5 ปี ติดชั้น พิเศษ ซึ่งทำหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน กับ สายทั่วไป ทำงานมา 15 ปี ระดับ ชำนาญงาน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่าย หรือหัวหน้างาน จะต้องถูกลดลำดับการปฏิบัติหน้าที่ตามอย่างนั้นหรือไม่ ช่วยตอบทีพระเดชพระคุณ หากให้เด็กสายวิชาการ กลับมาเป็นหัวหน้างานหรือหัวหน้าฝ่ายแทน จะบังคับบัญชากันได้หรือไม่ .... ท่านผู้อ่านโดยเฉพาะผู้คุมลองคิดดู บทความนี้ อาจยาวไปหน่อย แต่ก็พยายาม บรรยายให้เห็นภาพมากที่สุด ก็สุดแล้ว แต่ผู้อ่านจะพิจารณานะครับ คงพอแค่นี้ก่อน

ระบบแท่งใหม่แต่นิสัยเก่า นิสัยติดบ่า จนแยกไม่ออก 2


หายไปหลายวัน ต้องขอโทษด้วยครับ (สำหรับคนที่อ่าน) ว่าไปแล้วครับเรื่อง บัญชี 7 (ระดับซีเดิม) มาขึ้นเป็นตำแหน่ง ใหม่ (ระบบแท่ง) ตอนที่แล้ว คราวนี้เรามาว่ากันถึงระดับ 6 ว(นักวิชาการ) ระดับ 6 ธรรมดา(จบห) และ ระดับ 7 จบห. เคยเกริ่นไว้แล้วครับ ว่า ตามปรัชญาเดิมที่ กพ.ได้กำหนดไว้ในการปรับเปลี่ยน จากระดับ(ซี)ไปเป็นแท่ง (กลุ่มตำแหน่ง) การเทียบ ดูได้จากที่นี่ และจากตารางที่แสดง (ที่มาสำเนักงาน กพ) จะเห็นได้ว่า กพ.ได้วางเส้นทางของตำแหน่ง ให้ กระทรวง และกรม ต่างๆ ที่เป็นข้าราชการพลเรือน ปรับเปลี่ยน ในวันที่ 11 ธันวาคม 2551 ท่านดูดีๆ นะครับ ระดับ 5-6 ตาม พรบ.35 ของกรมราชทััณฑ์ ชื่อตำแหน่ง เรียก เจ้าหน้าที่ หรือ เจ้าพนักงาน หรือ เจ้าหน้าที่บริหารงาน ก็แล้วแต่ กพ.กำหนดให้เป็น ประเภท ทั่วไป ระดับ ชำนาญงาน ตาม พรบ.51 ใหม่ และให้ ระดับ 7-8 ชื่อเรียกตำแหน่งเดิม เรียก เจ้าหน้าที่บริหารงานราชทัณฑ์ กพ. กำหนดให้เป็นประเภท ทั่วไป ระดับ อาวุโส สายงานที่กล่าวนี้ เป็นสายงานทั่วไปที่ไม่ได้เริ่มรับราชการจากระดับปริญญาตรี เมื่อ กรมฯ ปรับเข้าแท่ง ได้มีการ ยำๆ สับๆ แบ่งๆ แล้วแปลงร่างใหม่ ในบางสาย ให้ไปอยู่ในอีกสาย ได้โดยอัศจรรย์ ใจ อีกเช่นกัน โอ้ว พระเจ้าช่วยกล้วยทอด กรมฯ ได้ เอา ระดับ 6 หรือซี 6 ที่มี วุฒิปริญญาตรี ส่วนหนึ่ง เน้นๆ นะครับ ที่มีวุฒิปริญญาตรี กระโดดไปเป็นสายงาน วิชาการ ตำแหน่ง นักวิชาการ ชำนาญการ(K2) เฉยเลย แล้วจัด ระดับ 6 ที่ไม่มีวุฒิปริญญาตรี คงตำแหน่งเดียวกับ ระดับ 5 เดิม ในชื่อตำแหน่ง ประเภททั่วไป ชำนาญงาน (O2) อย่างนี้เรียกว่า การแบ่งชนชั้น ที่น่าเจ็บใจ และที่น่าจะร้องเรียนให้มีการทบทวนการดำเนินการใหม่ที่สุด กลับ เงียบฉี่ ก็คือ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานราชทัณฑ์ 7 เดิม โดยหลักของตำแหน่งแล้ว กพ. แล้วเขากำหนดให้เป็นประเภท ทั่วไป (ไม่ได้มาจากปริญญาตรี) ซึ่งบางคน เป็นระดับ 7 มา 8 ปี 10 ปี หรือเกินกว่านั้น เรียกว่าเหลาเหย่ สุดยอดประสบการณ์ การทำงานขั้นเทพ ซึ่งจริงๆ ควรจะดันเขาขึ้น อาวุโส(O3) กลับถูกโหลด ให้ไปอยู่ตำแหน่งรวมกับพวก นักวิชาการ ทั้งใหม่และเก่า รวมถึงระดับ 6 ป.ตรี ที่ถูกกระแทกขึ้นมา ให้มาเป็นตำแหน่ง นักวิชาการ ระดับ ชำนาญการ ซึ่งอัตราเงินเดือน เต็มขั้น ระหว่าง อาวุโส กับ ชำนาญการ ต่างกันคนละขั้วโลก ระดับ 7 เดิม แทนที่ศักดิ์ศรี จะเทียบระดับ 8 กลับ ถูกลดลงไปอยู่กับ พวกนักวิชาการ 6 ว ใหม่ๆ และ นักวิชาการ 6 ว เดิมๆ ในตำแหน่งเรียกเดียวกัน อันนี้ก็ว่ากันไป เพราะมันก็ใหนๆ แล้ว เนื้อหาที่บ่นอยู่ตอนนี้ มิใช่ว่าจับเนื้อความตรงโน้นมาใส่ตรงนี้ หรือฟังเขาเล่ามา บอกได้เลยว่า ผมศึกษามาตั้งแต่ พรบ.51 เป็นร่าง ตั้งแต่เจตนา เริ่มแรก จนถึงปัจจุบัน จึงสามารถแยกแยะเนื้อหาได้ตรงนี้ ที่น่าห่วง คือ สิ่งที่ตามมามันได้เกิดการแบ่งแยกชนชั้น ในวงการราชทัณฑ์เอง อย่างเห็นชัดเจน และเห็นแก่ตัวที่สุด สำหรับคนที่นั่งอยู่ส่วนกลางกรมราชทัณฑ์ และผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ แบ่งชนชั้นอย่างไร เห็นแก่ตัวอย่างไร เดี๋ยวมีต่อตอนที่ 3 เลิกงานแล้ว ขอพักเติม ดีกรี สักหน่อย ไปก่อนครับ