คนราชทัณฑ์ กับ งานราชทัณฑ์
ช่วงนี้ก็เป็นกระแสการเรียกร้องของข้าราชการ ที่สังกัด กพ.โดยเฉพาะในส่วนของสาธารณะสุข เรื่องความเหลื่อมล้ำของเงินเดือน และระบบแท่ง และหลายหน่วยงานได้พยายามรวมตัวข้าราชการที่คิดว่า มันเหลื่อมล้ำ เท่าที่ผมติดตาม กพ.คุมตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนทั้งหมด แต่ไม่สามารถคุมการจัดสรรการลงตำแหน่ง และค่างานค่าตอบแทนของแต่กระทรวง กรม กอง ที่อยู่ในการดูแลได้ ...ปล่อยให้ส่วนราชการจัดสรรกันเองโดย ยึดรูปแบบของ กพ.เป็นหลัก...แล้วเป็นยังไงทุกวันนี้ ความเหลื่อมล้ำ การแบ่งชั้นข้าราชการ ความก้าวหน้าของสายงาน ตามภารกิจ มั่วไปหมด ผมเห็นด้วยกับการเรียกร้อง แต่ไม่เห็นด้วยที่เรียกร้องในลักษณะเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่น..เพราะอะไร เพราะภาระกิจของแต่ละหน่วยมันต่างกัน อย่างสาธารณะสุขเขาเรียกร้อง เพราะเขาเห็นในส่วนของภาระกิจงาน และการวางคนของเขาทั้งเรื่อง ตำแหน่งและความก้าวหน้ามันอาจไม่สมดุล เหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะในส่วนของ สาธารณสุขตำบล ซึ่งมันแน่นอนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่คนเข้าไปร่วม หน่วยงานอื่นเข้าไปร่วม ควรจะศึกษาก่อนดีมั้ย ว่าการเหลื่อมล้ำของกรมตัวเองคืออะไร การที่ใช้คำว่า ค่าตอบแทนชั้นยศเดียวกัน ไม่เท่ากัน โดยไปเปรียบกับ ทหาร ตำรวจ ครู ไม่น่าจะถูกต้อง .. เพราะกลุ่มนี้ เขาเป็นอิสระ และที่เขาได้มาเพราะ ตัวกลางที่บริหารจัดการตำแหน่งของเขาทำตัวเป็นกลางจริงๆ และต่อสู้เรื่องเงินเดือนค่าตอบแทนจนเป็นที่พอใจทั้งระบบของเขา...แต่พวกเราข้าราชการพลเรือนสามัญ ตัวกลางเรา คือ กพ.นั่นแหละคือตัวถ่วง เรื่องนี้...กพ.ไม่เข้าใจภาระกิจของแต่ละหน่วย ว่าควรจะจัดคนเข้าอย่างไร ถึงจะสมดุลและเหมาะสม ทำให้เกิดการผิดเพี้ยนของระบบ และตรรกะความคิด เอาง่ายๆ กรมราชทัณฑ์เรา บางส่วนคิดเอาเอง โดยเอานักวิชาการไปเปรียบกับทหารสัญญาบัตรที่จบจาก จปร. และเทียบให้ สายทั่วไปเป็นประทวน..นี่คือความคิดที่ผิดเพี้ยน..เราคือ ข้าราชการพลเรือน ภารกิจเรา มีสองส่วน ส่วนที่เป็นนโยบาย คือ กรมราชทัณฑ์ กับส่วนที่ ปฏิบัติ คือ เรือนจำ/ทัณฑสถาน..มาจากนักทัณฑ์ อยู่กรมฯ ก็ไปตามสำนักกอง อยู่เรือนจำก็ไปอยู่ในคุก เข้าเวร สายทั่วไปก็เหมือนกัน..อยู่กรมก็ทำงานตามสำนักกอง มาอยู่เรือนจำก็อยู่ในคุก เข้าเวร เหมือนกัน ภารกิจไม่ได้ต่างกัน แต่ ค่าเงิน มันดันต่างกัน ... นักวิชาการ ได้เงิน และค่ากลาง อีกเรทหนึ่ง สายทั่วไปได้เงิน และค่ากลาง อีกเรท หนึ่ง...มันศักดินาชัดๆ ... ผมถึงไม่เห็นด้วยที่แต่ละหน่วยที่ไปเข้าร่วมเครือข่าย แล้วไปเรียกร้องในประเด็นนี้ ...เรียกร้องโดยใช้คำว่าชั้นยศเดียวกัน ระดับเดียวกัน ค่าตอบแทนต้องเหมือนกัน..มันไม่ใช่...การเทียบชั้นยศ ผมมองว่า มันเป็นการให้เกียรติกันระหว่างส่วนราชการ ในเรื่องสังคม และพิธีการ เช่น อำนวยการระดับสูง เทียบ ทหาร ตำรวจ ระดับ พันเอก ถึง พลตรี ... ก็เพื่อเวลาเข้าสังคม ประชุม เจอกัน จะได้ให้เกียรติกันถูกตามชั้นยศ ... อีกอย่างอยู่คนละหน่วย คนละภารกิจ ค่าตอบแทนมันจะเท่ากันได้อย่างไร ก็ในเมื่อภารกิจของ ทหาร ตำรวจ พยาบาล ผู้คุม มันคนละอย่าง..ความหนักเบาลำบากมันต่างกัน...ฉะนั้น ผมเห็นว่า การที่เราจะไปเข้าร่วมอะไร มันต้องมองตัวเองในกระจกให้ถ่องแท้ก่อน..ท่านมองว่า กรมราชทัณฑ์ เหลื่อมล้ำ เรื่องเงินเดือน ความก้าวหน้า มันเหลื่อมล้ำยังไง ท่านต้องศึกษาเรื่องของบ้านตัวเองก่อน...ที่ผมต่อสู้มาเพราะผมเห็นตรงนี้ ความเหลื่อมล้ำมันเกิดตั้งแต่ กพ.แบ่งตำแหน่งเข้าแท่งแล้ว ค่าเงินมันผิดกันตั้งแต่เข้างาน (ให้ดูตารางเปรียบเทียบกระทู้ก่อนหน้านี้) ...บริบทแรกเริ่มตอนจัดคนเข้าแท่งใหม่ๆ กพ.มองจากตัวเอง ตอนเข้าแท่ง แล้วสั่งให้หน่วยอื่นปรับเข้าสายงาน ใน กพ.ก็มีแต่นักวิชาการ ก็เลยเอา คนจบ ป.ตรี สายวิชาการ มาเป็นตัวตั้ง โดยไม่สนใจกรอบดั้งเดิมของแต่ละหน่วยงาน แล้วออกหนังสือเวียน .. ยกตัวอย่างกรมราชทัณฑ์นี่แหละ เช่น แต่เดิมกรมราชทัณฑ์มีนักทัณฑ์กี่อัตรา คนที่มาจากซี 1 - ซี 6 กี่อัตรา ซี 7 กี่อัตรา เป็น ซี 7 จากนักทัณฑ์ กี่ อัตรา เป็น ซี 7 จากสายทั่วไป กี่อัตรา เอามาตั้งไว้ พอเอาคนมาลงตามแท่งก็ว่ากันตามพื้นฐานที่มา เช่น มานักวิชาการ ก็ไปเป็น ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ...ถ้ามาจาก ซี 1 ซี 2 ที่เป็นซี 5 ซี 6 ก็เอาเข้า ชำนาญงาน ที่เป็น ซี 7 ซี 8 ก็เอาเข้าอาวุโส...แต่นี่ กพ.สั่ง ตูม ให้แต่ละหน่วยจัดคนเอง แต่ละหน่วยที่จัดคนอยู่ส่วนกลางทั้งนั้น เป็นนักวิชาการทั้งนั้น เขาก็เอา ป.ตรี มาเป็นตัวอัดคนเข้าแท่ง...ก็วุ่นสิครับ.. ซี 6 ซี 7 ที่มาจาก ซี 1 ที่ไม่ใช่ตำแหน่ง วิชาการแต่มี ป.ตรี ... ดันเข้า ชำนาญการทั้งหมด ก็สูญพันธ์สิครับ สายทั่วไป เพราะคนที่เป็น ซี 6 ซี 7 ที่มาจากซี 1 เขามีปริญญากันทั้งนั้น กลายเป็นว่า สายวิชาการมีอัตราเพิ่มโดยปริยาย..มันสวนกับภารกิจครับ... มันก็คือการเอาปริญญามาเป็นหลักในการให้ค่าตอบแทน โดยไม่มองภารกิจที่เป็นอยู่...เพราะคนที่เป็นกำลังหลักตามภารกิจของเรือนจำ...คือคนที่อยู่เรือนจำ สายทั่วไป ไม่ใช่สายวิชาการ ... ทุกวันนี้ เกิดการแบ่งกลุ่ม กันตามเรือนจำ กลุ่มนักวิชาการ ที่โตไวเกินไป กับ ชำนาญงานใหม่ และกลางเก่ากลางใหม่ จนถึงรุ่นเก๋า...ไม่คุยกัน ลึกๆ ไม่ยอมรับกันด้วย...การถ่ายทอดประสบการณ์ ไม่มี ... ความเป็นพี่น้อง.. การนับถือเริ่มจางหายไป.. นี่คุยกันด้วยเหตุผล ... ไอ้ที่อ้างสัญญาบัตร นั่นนี่ มันเพ้อเจ้อ ... ความคิดเรื่องแบ่งชั้น สัญญาบัตร ประทวน ... วัฒนธรรมแบบนี้ ยิ่งนาน ยิ่งกร่อนทำลายองค์กร โดยรวม .. นี่คือประเด็นในมุมมองของผมเรื่องการเหลื่อมล้ำ ... แล้วคุณหล่ะคิดยังไง
ถูกต้องแล้วครับ สายวิชาการกับสายทั่วไป ทำงานเท่ากัน แต่ค่าตอบแทนต่างกัน ความยุติธรรมไม่มี อีกไม่นานองค์กรก็ล่ม ต่างประเทศเขายกเลิกไปแล้วครับระบบแท่ง
ตอบลบ