วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ปีงบประมาณใหม่ กับอธิบดีกรมราชทัณฑ์คนใหม่

คนราชทัณฑ์ กับ งานราชทัณฑ์
รับศักราชใหม่ ปีงบประมาณ 2560 เราก็ได้อธิบดีราชทัณฑ์คนใหม่ด้วย คือ ท่านกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ จริงๆแล้ว ท่านไม่ได้หายไปใหนนะครับ ท่านไปเป็นรองปลัดกระทรวง แต่ท่านก็ยัง ติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการบริหารงานราชทัณฑ์อยู่เสมอมา เพราะว่าท่านเคยเปรยว่า กรมราชทัณฑ์เป็นบ้านหลังใหญ่ที่ท่านรัก มีพี่มีน้อง ร่วมทุกข์ร่วมสุข กันมากมาย ในการทำงาน

http://www.correct.go.th/newcorrectweb/index.php/home?lang=th/
โดยส่วนตัว ผมรักเคารพท่านมาก ทั้งในเรื่องสไตล์การทำงาน แนวคิด วิสัยทัศน์ และอีกอย่างท่านเก่งมากๆๆ เรื่องข้อมูลและการบริหารจัดการ ผมเอาเป็นแบบอย่างเลย พอรับงานปั๊ปก็ ปรับคน ออกนโยบายเลย (สั่งทางไลน์ผู้บริหาร) ใครไม่ทันผมก็ทำเป็นลิงค์ให้ไปโหลดอ่านกันข้างใต้บทความนี้ 
           ก็ยังเหมือนเดิมครับสำหรับการต่อสู้เพื่อขอเพิ่มอัตราในตำแหน่ง อาวุโสสำหรับผู้คุมสายกรรมกร อย่างเราๆ กำลังทำเอกสารอยู่ครับ ครั้งนี้ กะจะเข้าหาท่าน อรท เลย ไปนั่งแจงให้ฟังท่าจะดี.เพราะท่านเปิดกว้าง และ คงอยู่นาน พอที่จะได้พิจารณาถึงปัญหาของวิชาชีพพวกเรา
อันนี้เป็นหนึ่งในเอกสารประกอบที่จะเข้ายื่นเรื่องเสนอต่อ อรท ผมกำลังพยามจะสื่อในเรื่องที่ให้ผู้บริหารควรจะเห็นว่า วัฒนธรรมองค์กรค์ของเราเปลี่ยนเพราะ การไม่เสมอภาคและโอกาสของความก้าวหน้าของสายงานทั่วไป โดยไม่เปรียบกับสายงานวิชาการ และจะนำเสนอตัวแบบ สำหรับดำเนินการ ในการขอเพิ่มกรอบตำแหน่งอาวุโส และวิธีอื่นที่จะนำคนที่อยู่ในระบบโดยเฉพาะสายทั่วไปที่มีประสบการณ์การทำงานสูงมาเป็นตัวเลือกสำหรับผู้บริหาร ในการคัดเลือกคนมาใช้งานในระดับหัวหน้างาน/ฝ่าย ครับบทความนี้ก็คงเท่านี้ สำหรับลิงค์เอกสารนโยบาย อรท กอบเกียรติ ตามลิ้งครับ

นโยบาย อรท สั่งการ ครั้งที่ 1
นโยบาย อรท สั่งการ ครั้งที่ 2
นโยบาย อรท สั่งการ ครั้งที่ 3
อันนี้เป็นผังประกอบการสั่งการ คลิ้ก ขวาที่ภาพ และบันทึกลงเครื่องไว้เลยครับ
 

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

สาระเบา เบา กับเรื่องการปราบยาเสพติด โทรศัพท์ ในคุก

คนราชทัณฑ์ กับ งานราชทัณฑ์
               ที่ผ่านมา รัฐมนตรี และอธิบดี ได้แถลงข่าวเรื่องการก้าวข้าม ยาเสพติด และโทรศัพท์มือถือ ในเรือนจำ ถือเป็นการสอบผ่าน ป.1 ซึ่งท่านผู้บริหาร (อรท) ก็ได้เปรียบเปรย ว่าเรากำหนด หลักสูตรในการทำงาน คือตั้งเป้าในการเดินงานราชทัณฑ์ ไว้ 3 ชั้น ป.1 ป.2 ป.3  ซึ่งในปี 2558 ที่ผ่านมาเขาถือว่าได้สอบผ่านการดำเนินงานชั้น ป1. คือ การดำเนินงาน 5 ก้าวย่าง  คือ 1. การปราบปรามยาเสพติด โทรศัพท์ มือถือ  2.การจัดระเบียบ  3.การฝึกวินัยแบบทหาร  4.การพัฒนาจิตใจ สัคคสาสมาธิ 5.การสร้างการยอมรับจากสังคม (โชว์พาว) โดยทางผู้บริหารได้มองว่า ก้าวย่าง ที่ 1-4 เราผ่านมาแบบสวยงาม และยั่งยืน  ตอนนี้ให้ระดมการนำเสนอก้าวย่างที่ 5 แต่ละเรือนจำก็ไปเตรียมแผนเตรียมงานดำเนินกันไป นี่คือ ป.1 ขั้น ป2. ท่านว่า คือ ทำโฟร์ชาร์ตเรือนจำ และผู้ต้องขัง รวมถึงการแก้ไขระเบียบ กฎหมายต่างๆ ซึ่ง เบื้องต้นก็ว่ากันแล้ว เรือง เรือนจำ กระดูกสันหลังเรือนจำ 4 กลุ่ม เรือนจำ เฉพาะด้าน 7 ที่ เรือนจำความมั่นคงสูงสุดแบบพิเศษ 5 แห่ง และเรือนจำ โครงสร้างเบา สำหรับผู้ต้องขังเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย 17 แห่ง 18 ที่ ชั้น ป.3 คือ การทำระบบงานเอกสารเป็น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งระบบ.. ซึ่งก็ยากและซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ... ผู้คุมเราทุกระดับชั้นต้องรู้เรื่องพวกนี้นะครับ...อย่าตกเทรน... งานมันกำลังอยู่ระหว่างการปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลงหลายด้านพร้อมกัน...รู้เขารู้เรารบร้อยชนะร้อย รบพันชนะพัน ... ก็ว่ากันไป อันนี้ หากใครไม่ได้ทำง่านตรงๆ ก็ให้หาอ่านไว้เป็นอาหารสมองก็แล้วกัน ... มาว่ากันเรื่อง การปราบ ยาเสพติด โทรศัพท์ มือถือ ในเรือนจำ ที่ผ่านมา ... อันนี้เอาประสบการณ์มาเล่า เผื่อใครได้เจอ หรือกำลังเจอกับเหตุการณ์นี้อยู่ ... ก็ลองเอาไปมองๆ เวลาทำงานดู... อันแรกเลย ขอย้ำนะ ประสบการณ์ล้วนๆ ... เรื่องแรกเลย การมองสถานการณ์ยาเสพติดของเรือนจำที่เราอยู่...ว่าเรือนจำเราสุ่มเสี่ยงต่อการมีสถานการณ์ยาเสพติดและโทรศัพท์มือถือหรือไม่ ..

            1.ผู้ต้องขังในเรือนจำ ถูกแบ่งเป็นกลุ่ม โดยกลุ่มมีอิทธิพลจะเป็นกลุ่มของเจ้าหน้าที่ที่เป็นใหญ่ในนั้น และใช้ผู้ต้องขังกลุ่มนี้ หาข่าว จัดการผู้ต้องขังด้วยกัน รวมถึงเจ้าหน้าที่ ด้วยนะจ้ะ
                2.จะมีการปล่อยข่าวเสมอว่าเจ้าหน้าที่คนนั้น คนนี้ มีพฤติกรรม ให้คอยจับตาดูเจ้าหน้าที่ คนนั้น คนนี้ บางครั้งก็เต้าข่าวตรงๆ บางครั้งก็จัดฉากให้ผู้ต้องขังเขียนเป็นกระดาษขึ้นมาเพื่อใส่ร้ายเป็นการเฉพาะ ผบ.เชื่อด้วยนะ เด้งกันระนาว
                3. มีกลุ่มเจ้าหน้าที่ ที่ทำตัวเป็นมือปราบ ระดับพระกาฬ แต่ปราบเท่าไหร่ แม่ง ไม่เคยหมดจากเรือนจำซะที ทั้งยาทั้งโทรศัพท์ มีข่าว ตะล้อดด ลักษณะนี้ตามประสบการณ์ พวกมือปราบนี้แหละ ตัวดีเลย ... สับหลีกเปลี่ยนเครื่องศาลเตี้ยรีดเงินเลี้ยงโจร ครบวงจร...
                4.มีการกีดกันงาน ระหว่างเจ้าหน้าที่ด้วยกัน เป็นกลุ่มๆ ก็แบ่งย่อย ตามลักษณะการหากิน เช่น กลุ่มฝ่ายทัณฑ์ กลุ่มควบคุม กลุ่มสวัสดิการ กลุ่มฝ่ายบริหาร เนื่องจากต่างกลุ่มต่างมีผลประโยชน์หากินกับผู้ต้องขังอย่างเหนียวแน่น ทั้งทางตรงและทางอ้อม เลยไม่อยากให้อีกฝ่ายหนึ่งมารับรู้ ฟามลับ การหากิน เรื่องนี้ ก็จะกีดกัน จนท.ด้วยกัน ผู้ต้องขังก็สบายใจ ยา โทรศัพท์ก็สะดวก เฮฮฮ...
                5.มีข่าวเรื่อง โทรศัพท์ กับยาในเรือนจำตลอด ไม่เคยห่างหายจากเรือนจำ เหมือนสูดกลิ่นตดที่ไม่มีวันจาง การเล่าเรื่องเก่าให้สดใหม่เสมอ เพื่อตอกย้ำ(ใส่ร้ายคนอื่นแบบเสมอต้นเสมอปลายชั่วนิรันดร์) เปลี่ยน ผบ.แล้ว แม่ง... ก็พูดแต่เรื่องสมัย ผบ.คนก่อน คนก่อน คนก่อนโน้นน ...ว่ากรูเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งๆที่บางเรื่อง ผลสอบไม่มี หลักฐานไม่ปรากฏ มีแต่อ้างสายข่าว แล้วกรูจะเป็นคนดีกับเขาได้มั้ยเนี่ย
                นี่เป็นข้อสังเกตอันเล็กน้อยจากประสบการณ์อันน้อยนิด ในการเข้าไปจัดการกับ เรือนจำที่มีปัญหาด้านยาเสพติด และโทรศัพท์มือถือ แต่ผมไม่ใช่มือปราบนะ.. ผมเป็นแค่ผู้ส่งสาร ผู้รับฟัง นักคิดจินตนาการ นักมายากล นักแกะรอย 007 เชอร์ล้อกโฮล์มและคนบ้า ผสมกัน..555.. ผลงานมีอยู่ทั่ว ไปอยากรู้ไปหาเอง เดี๋ยวจะว่าโม้ ... 

เรือนจำใคร มีรูปแบบ หรือ รูปการ แบบที่ผมเขียนนี้ ... ให้ท่านทำใจ เรือนจำท่านยังมีความเสี่ยงและคงอยู่ในเรื่องของการมียาเสพติด และโทรศัพท์มือถือ ในเรือนจำ... อันนี้ไม่ใช่งานทางวิชาการขอย้ำจะเอาไปอ้างอิงไม่ได้ ... ผมบอกแล้ว งานคุก หลักสำคัญคือประสบการณ์ .. ถ้าคุณรู้จักเก็บเกี่ยวแล้วเอามาใช้คุณก็จะอยู่รอดในระบบผู้คุม ... ยังมีให้อ่านอีกมาก วันนี้แค่นี้ก่อน ...จะพยายามไม่ขี้เกียจ หาอะไรเขียนให้ท่านอ่าน เพื่อเติมสมองและผ่อนคลายจากงานประจำ..ก็หวังเช่นนั้นครับ...ไปแระ

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

ระบบแท่งกับความเหลื่อมล้ำเรื่องเงินเดือน ในมุมมองของผม

คนราชทัณฑ์ กับ งานราชทัณฑ์
      ช่วงนี้ก็เป็นกระแสการเรียกร้องของข้าราชการ ที่สังกัด กพ.โดยเฉพาะในส่วนของสาธารณะสุข เรื่องความเหลื่อมล้ำของเงินเดือน และระบบแท่ง และหลายหน่วยงานได้พยายามรวมตัวข้าราชการที่คิดว่า มันเหลื่อมล้ำ เท่าที่ผมติดตาม กพ.คุมตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนทั้งหมด แต่ไม่สามารถคุมการจัดสรรการลงตำแหน่ง และค่างานค่าตอบแทนของแต่กระทรวง กรม กอง ที่อยู่ในการดูแลได้ ...ปล่อยให้ส่วนราชการจัดสรรกันเองโดย ยึดรูปแบบของ กพ.เป็นหลัก...แล้วเป็นยังไงทุกวันนี้ ความเหลื่อมล้ำ การแบ่งชั้นข้าราชการ ความก้าวหน้าของสายงาน ตามภารกิจ มั่วไปหมด ผมเห็นด้วยกับการเรียกร้อง แต่ไม่เห็นด้วยที่เรียกร้องในลักษณะเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่น..เพราะอะไร เพราะภาระกิจของแต่ละหน่วยมันต่างกัน อย่างสาธารณะสุขเขาเรียกร้อง เพราะเขาเห็นในส่วนของภาระกิจงาน และการวางคนของเขาทั้งเรื่อง ตำแหน่งและความก้าวหน้ามันอาจไม่สมดุล เหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะในส่วนของ สาธารณสุขตำบล ซึ่งมันแน่นอนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่คนเข้าไปร่วม หน่วยงานอื่นเข้าไปร่วม ควรจะศึกษาก่อนดีมั้ย ว่าการเหลื่อมล้ำของกรมตัวเองคืออะไร การที่ใช้คำว่า ค่าตอบแทนชั้นยศเดียวกัน ไม่เท่ากัน โดยไปเปรียบกับ ทหาร ตำรวจ ครู ไม่น่าจะถูกต้อง .. เพราะกลุ่มนี้ เขาเป็นอิสระ และที่เขาได้มาเพราะ ตัวกลางที่บริหารจัดการตำแหน่งของเขาทำตัวเป็นกลางจริงๆ และต่อสู้เรื่องเงินเดือนค่าตอบแทนจนเป็นที่พอใจทั้งระบบของเขา...แต่พวกเราข้าราชการพลเรือนสามัญ ตัวกลางเรา คือ กพ.นั่นแหละคือตัวถ่วง เรื่องนี้...กพ.ไม่เข้าใจภาระกิจของแต่ละหน่วย ว่าควรจะจัดคนเข้าอย่างไร ถึงจะสมดุลและเหมาะสม ทำให้เกิดการผิดเพี้ยนของระบบ และตรรกะความคิด เอาง่ายๆ กรมราชทัณฑ์เรา บางส่วนคิดเอาเอง โดยเอานักวิชาการไปเปรียบกับทหารสัญญาบัตรที่จบจาก จปร. และเทียบให้ สายทั่วไปเป็นประทวน..นี่คือความคิดที่ผิดเพี้ยน..เราคือ ข้าราชการพลเรือน ภารกิจเรา มีสองส่วน ส่วนที่เป็นนโยบาย คือ กรมราชทัณฑ์ กับส่วนที่ ปฏิบัติ คือ เรือนจำ/ทัณฑสถาน..มาจากนักทัณฑ์ อยู่กรมฯ ก็ไปตามสำนักกอง อยู่เรือนจำก็ไปอยู่ในคุก เข้าเวร สายทั่วไปก็เหมือนกัน..อยู่กรมก็ทำงานตามสำนักกอง มาอยู่เรือนจำก็อยู่ในคุก เข้าเวร เหมือนกัน ภารกิจไม่ได้ต่างกัน แต่ ค่าเงิน มันดันต่างกัน ... นักวิชาการ ได้เงิน และค่ากลาง อีกเรทหนึ่ง สายทั่วไปได้เงิน และค่ากลาง อีกเรท หนึ่ง...มันศักดินาชัดๆ ... ผมถึงไม่เห็นด้วยที่แต่ละหน่วยที่ไปเข้าร่วมเครือข่าย แล้วไปเรียกร้องในประเด็นนี้ ...เรียกร้องโดยใช้คำว่าชั้นยศเดียวกัน ระดับเดียวกัน ค่าตอบแทนต้องเหมือนกัน..มันไม่ใช่...การเทียบชั้นยศ ผมมองว่า มันเป็นการให้เกียรติกันระหว่างส่วนราชการ ในเรื่องสังคม และพิธีการ เช่น อำนวยการระดับสูง เทียบ ทหาร ตำรวจ ระดับ พันเอก ถึง พลตรี ... ก็เพื่อเวลาเข้าสังคม ประชุม เจอกัน จะได้ให้เกียรติกันถูกตามชั้นยศ ... อีกอย่างอยู่คนละหน่วย คนละภารกิจ ค่าตอบแทนมันจะเท่ากันได้อย่างไร ก็ในเมื่อภารกิจของ ทหาร ตำรวจ พยาบาล ผู้คุม มันคนละอย่าง..ความหนักเบาลำบากมันต่างกัน...ฉะนั้น ผมเห็นว่า การที่เราจะไปเข้าร่วมอะไร มันต้องมองตัวเองในกระจกให้ถ่องแท้ก่อน..ท่านมองว่า กรมราชทัณฑ์ เหลื่อมล้ำ เรื่องเงินเดือน ความก้าวหน้า มันเหลื่อมล้ำยังไง ท่านต้องศึกษาเรื่องของบ้านตัวเองก่อน...ที่ผมต่อสู้มาเพราะผมเห็นตรงนี้ ความเหลื่อมล้ำมันเกิดตั้งแต่ กพ.แบ่งตำแหน่งเข้าแท่งแล้ว ค่าเงินมันผิดกันตั้งแต่เข้างาน (ให้ดูตารางเปรียบเทียบกระทู้ก่อนหน้านี้) ...บริบทแรกเริ่มตอนจัดคนเข้าแท่งใหม่ๆ  กพ.มองจากตัวเอง ตอนเข้าแท่ง แล้วสั่งให้หน่วยอื่นปรับเข้าสายงาน ใน กพ.ก็มีแต่นักวิชาการ ก็เลยเอา คนจบ ป.ตรี สายวิชาการ มาเป็นตัวตั้ง โดยไม่สนใจกรอบดั้งเดิมของแต่ละหน่วยงาน แล้วออกหนังสือเวียน .. ยกตัวอย่างกรมราชทัณฑ์นี่แหละ เช่น แต่เดิมกรมราชทัณฑ์มีนักทัณฑ์กี่อัตรา คนที่มาจากซี 1 - ซี 6 กี่อัตรา ซี 7 กี่อัตรา เป็น ซี 7 จากนักทัณฑ์ กี่ อัตรา เป็น ซี 7 จากสายทั่วไป กี่อัตรา เอามาตั้งไว้ พอเอาคนมาลงตามแท่งก็ว่ากันตามพื้นฐานที่มา เช่น มานักวิชาการ ก็ไปเป็น ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ...ถ้ามาจาก ซี 1 ซี 2 ที่เป็นซี 5 ซี 6 ก็เอาเข้า ชำนาญงาน ที่เป็น ซี 7 ซี 8 ก็เอาเข้าอาวุโส...แต่นี่ กพ.สั่ง ตูม ให้แต่ละหน่วยจัดคนเอง แต่ละหน่วยที่จัดคนอยู่ส่วนกลางทั้งนั้น เป็นนักวิชาการทั้งนั้น เขาก็เอา ป.ตรี มาเป็นตัวอัดคนเข้าแท่ง...ก็วุ่นสิครับ.. ซี 6 ซี 7 ที่มาจาก ซี 1 ที่ไม่ใช่ตำแหน่ง วิชาการแต่มี ป.ตรี ... ดันเข้า ชำนาญการทั้งหมด ก็สูญพันธ์สิครับ สายทั่วไป เพราะคนที่เป็น ซี 6 ซี 7 ที่มาจากซี 1 เขามีปริญญากันทั้งนั้น กลายเป็นว่า สายวิชาการมีอัตราเพิ่มโดยปริยาย..มันสวนกับภารกิจครับ... มันก็คือการเอาปริญญามาเป็นหลักในการให้ค่าตอบแทน โดยไม่มองภารกิจที่เป็นอยู่...เพราะคนที่เป็นกำลังหลักตามภารกิจของเรือนจำ...คือคนที่อยู่เรือนจำ สายทั่วไป ไม่ใช่สายวิชาการ ... ทุกวันนี้ เกิดการแบ่งกลุ่ม กันตามเรือนจำ กลุ่มนักวิชาการ ที่โตไวเกินไป กับ ชำนาญงานใหม่ และกลางเก่ากลางใหม่ จนถึงรุ่นเก๋า...ไม่คุยกัน ลึกๆ ไม่ยอมรับกันด้วย...การถ่ายทอดประสบการณ์ ไม่มี ... ความเป็นพี่น้อง.. การนับถือเริ่มจางหายไป.. นี่คุยกันด้วยเหตุผล ... ไอ้ที่อ้างสัญญาบัตร นั่นนี่ มันเพ้อเจ้อ ... ความคิดเรื่องแบ่งชั้น สัญญาบัตร ประทวน ... วัฒนธรรมแบบนี้ ยิ่งนาน ยิ่งกร่อนทำลายองค์กร โดยรวม .. นี่คือประเด็นในมุมมองของผมเรื่องการเหลื่อมล้ำ ... แล้วคุณหล่ะคิดยังไง

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

ความเหลื่อมล้ำของเงินเดือนที่เขาว่ากัน มาดูของราชทัณฑ์ ซิ

คนราชทัณฑ์ กับ งานราชทัณฑ์
       สวัสดีปีใหม่กันไปแล้ว ตอนนี้ก็มาว่าเรื่องที่เป็นกระแสอยู่ตอนนี้ คือเรื่อง ที่เครือข่าย ข้าราชการ ก.พ. ไปยื่นหนังสือนายก เรื่องความเหลื่อมล้ำของระบบเงินเดือน และเรื่องระบบแท่ง รวมถึงเรื่องความก้าวหน้าของสายอาชีพต่างๆ ก็มีเพื่อนพี่น้องหลายท่านชวนให้ผมเข้าไปเป็นสมาชิกกลุ่มเครือข่าย ผม โอเค นยะครับ ...แต่อย่างว่า เมื่อเราเห็นประเด็นในการยื่นของเขาแล้ว เราก็เลยมาลองค้นคว้า และทดลองเปรัยบเทียบดู ในกรมเราเอง...ผมจะไม่เอาเราไปเปรียบเทียบ กับ ทหาร ตำรวจ หรือกน่วยงานอื่นที่เขาเป็นอิสระจาก ก.พ.นะครับ แต่ผมจะเอาประเด็นของราชทัณฑเรานี่แหละ มาว่ากัน ก็ได้ทำชาร์ตมาชุดหนึ่ง มาให้เพื่อนพี่น้องเราดูกันว่า สิ่งที่เขาว่าเงินเดือนมันเหลื่อมล้ำ ... จริงมั้ย .. ก็ทัศนาและพิจารณากันเอาเอง ตามภูมิความรู้ของแต่ละท่านนะครับตามตารางนี้...
 ดูกันและพิจารณา เผยแพร่ได้นะครับ ไม่มีลิขสิทธิ์.....

สวัสดีปีใหม่ผู้คุมไทย 2559

คนราชทัณฑ์ กับ งานราชทัณฑ์
        ต้นปี 2559 ก็ไม่มีอะไรนอกจากสวัสดีปีใหม่ พี่น้องเพื่อน พี่ทุกท่าน ก็ร้างไปนาน ตอนแรกก็คิดว่าจะทิ้งเว็บบล้อกนี้  แต่ก็เสียดาย เพราะบางอย่างทีี่เขียนในกระทู้มันคือร่องรอยแนวคิด ของเราที่มาเล่าสู่กันอ่าน พยายามเปิดโลกทัศน์อีกด้านในมุมมอง ผู้คุมสายกรรมกร ให้เพื่อนๆ ได้รับรู้ ตอนนี้มีนโยบายใหม่ๆ ออกมา ตั้งแต่เริ่มจัดการปฏิรูป เรือนจำ และกรมรราชทัณฑ์ ในมุมมองของกระผม ถือว่ายุคนี้คือยุคทองของกรมราชทัณฑ์โดยแท้ เราไม่เคยเห็นใครมาไส่ใจกับเรือนจำ มาดูว่า เรือนจำ คนคุก ผู้คุมเขาอยู่กันยังไง คุ้มกับภาษีที่เขาจ่ายเป็นเงินเดือนค่าตอบแทนให้เรามั้ย 
วันนี้ โดยนโยบาย ของ อธิยบดีกรมราชทัณฑ์ ท่านวิทยา  สุริยะวงศ์ โดยการผลักดัน ของพณ ท่าน ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ทำให้เราเห็นเรือนจำในส่วนที่เป็นภาระกิจ และความเป็นอยู่ ของผู้คุม และ คนคุก ได้อย่างสร้างสรรค์  การจัดระเบียบ ทำให้ผู้คุมปฏิบัติงานง่ายขึ้น การกำจัดสัมภารก คือการลดระบบอิทธิพลของผู้ต้องขังด้วยกัน ทำให้ผู้ต้องขังที่อยู่ข้างในไม่มีปัญหาเรื่องการแก่งแย่ง ทำร้ายกัน หรือรวมกลุ่มสร้างปัญหาให้เรือนจำ นโยบาย 5 ก้าวย่าง ได้ดำเนินการเป็นรูปธรรม ที่เห็นผลอย่างดี มันทำให้เกิดอะไรขึ้น มุมมองผมนะ ทำงานเรือนจำมา 20 ปี เพิ่งเห็นการวาวงระบบ งานเรือนจำ ที่ชัดเจน มีรูปแบบที่สามารถปฏิบัติและเห็นได้จริง
 โดยเฉพาะ Road Map 10 ด้าน คือ มันชัดเจน ... เรามีแนวทาง แต่ก่อนเรือรนจำควบคุมนักโทษไม่ให้หนี ภาระกิจ แก้ไข ฟื้นฟู ให้การศึกษาก็ทำไปงั้นๆ ตามที่กำหนด แต่ไม่มีจุดสิ้นสุดว่า ทำแล้ว คนคุก ได้อะไรกลับไปสู่สังคม ผู้คุมเราอาจเหนื่อยหน่อยที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป ... แต่ระบบเส้นทางความก้าวหน้ายังไม่สมดุล และเรื่องการปราบปรามยาเสพติด..ยังมีบางเรือนจำที่ตกยุค...อีกอย่างที่ขอชื่นชม ผมได้มีโอกาสได้ไปรับนโยบายในฐานะเรือนจำความมั่นคงสูงสุดแบบพิเศษ(ไปกับนาย)..สิ่งที่เห็นในการแลกเปลี่ยน ฟังความเห็นเรามีความเป็นมืออาชีพมาก ทีมงานรองนิมิตฯ มีการทำการบ้านมาอย่างดี ... ไม่เห็นมานานแล้วครับ..ไม่ใช่ท่านรองนิมิตฯ คนเดียวนะครับ สิ่งที่เราเติมเต็มกรมราชทัณฑ์ เรื่องการขับเคลื่อนนโยบายด้านต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ไม่ว่า จะเป็นสัคคสาสมาธิของรอง ปฏิคมฯ เรื่องติดตามโครงการในพระราชดำริ ของรองวสันต์ฯ เรื่อง การจัดหลักสูตรเรือนจำโครงสร้างเบา ของรองเรืองศักดิ์ฯ วันนี้ เราเรียกว่าเราเป็นมืออาชีพได้เต็มปาก ...โดยเฉพาะดีใจที่เห็นทีมงานคนหนุ่มสาวของกรมราชทัณฑ์ที่มีความแอ้คทีฟ แลพพร้อม เพื่อขับเคลื่อนร่วมกัน...ถึงยังงั้น รอยต่อของคนรุ่นเก่ารุ่นใหม่ มันยังมีเส้นบางๆ เรื่องความก้าวหน้าของสายงานขั้นอยู่ ... อยากให้ท่ารองเรืองศักดิ์ฯ ฐานะที่คุม กจ.ช่วยเห็นความสำคัญของผู้คุมสายทั่วไปบ้าง ...  ความก้าวหน้า ที่พอจะเป็นหน้าเป็นตาของผู้คุมบ้านนอก และเป็นศักดิ์ศรีแก่วงศ์ตระกูลเหมือน ท่านๆ ทั้งหลาย ในตำแหน่ง บริหารบ้าง...ผมเชื่อว่าท่านกำลังหาทางให้อยู่...มาถึงก็ชะเลีย ซะยกใหญ่ เรื่องจริง เรื่องสร้างสรรค์ ก็ต้องว่ากันตามตรงครับ...ในปีนี้ตั้งเป้าแล้ว... ในเมื่อเราต้องเดินไปกับระบบใหม่เราก็ต้อง ปรับตัว...เอาเป็นว่าในปีนี้ ... ผมก็จะพยายามอัพเดทเนื้อหาถี่ๆ หน่อย..เอาเรื่องงานเรื่องนโยบายนี่แหละมาเผาให้กันอ่าน..
ท้ายนี้ก็ขอให้ทุกท่าน มีความสุข ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่จน มีมงคลที่ดีกับชีวิตทุกท่าน...ตลอดปี 2559 และตลอดไปครับ..บาย