วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

เครื่องแบบใหม่ผู้คุม เขาว่างั้นครับ

คนราชทัณฑ์ กับ งานราชทัณฑ์
...เผื่อใครไม่ได้ติดตามเอามาให้ดูกันเรียกน้ำย่อย....

เตรียมตังค์ตัดกันนะครับ ...  ทุกอย่างอยู่ระหว่าง กฤษฎีกา รอประกาศใช้ครับ...แต่เราต้องรู้ความเคลื่อนไหวของบ้านตัวเองครับ... อีกช่องทางหนึ่งสำหรับการติดตาม กรมราชทัณฑ์ครับ...

นานาสาระ พรบ.ราชทัณฑ์ 2588 รู้ไว้ใช่ว่า 2 (มติ.ครม)

คนราชทัณฑ์ กับ งานราชทัณฑ์
...เผื่อคนที่ไม่ได้ติดตามครับ...

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการราชทัณฑ์ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย ในฐานะประธานกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการ และให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายด้านการราชทัณฑ์ และกำหนดทิศทางกระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง เพื่อให้การดำเนินงานของกรมราชทัณฑ์มีทิศทางและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. กำหนดให้มีคณะอนุกรรมการที่สำคัญและขึ้นตรงต่อคณะกรรมการฯ 2 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการตรวจเรือนจำ มีอำนาจหน้าที่ให้ความเห็นและเสนอแนะในการดำเนินกิจการเรือนจำตามหลักการทาง ด้านอาชญวิทยาและทัณฑวิทยาแก่กรมราชทัณฑ์ รวมทั้งทำการตรวจกิจการเรือนจำและให้คำแนะนำแก่เจ้าพนักงานในการปฏิบัติ หน้าที่ และคณะอนุกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ มีอำนาจหน้าที่ในการรับเรื่องราวร้องทุกข์หรือเรื่องราวใด ๆ จากผู้ต้องขัง

3. กำหนดให้หน่วยงานกลางที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านการบริหารงานบุคคลภาครัฐ ต้องจัดสรรอัตรากำลังเจ้าหน้าที่แก่กรมราชทัณฑ์ให้มีจำนวนเพียงพอกับการ ปฏิบัติงานของกรมราชทัณฑ์ โดยให้เป็นไปตามที่ตกลงไว้กับกรมราชทัณฑ์

4. กำหนดตำแหน่งเจ้าพนักงานที่เกี่ยวกับการราชทัณฑ์ ได้แก่ อธิบดี รองอธิบดี ผู้ช่วยอธิบดี ผู้บัญชาการเรือนจำ พัศดี และผู้คุม เพื่อให้สอดคล้องและตรงตามลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในกรม ราชทัณฑ์

5. กำหนดให้เจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่พิเศษในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือในสถานการณ์ ที่ไม่ปกติ เพื่อติดตามผู้ต้องขังที่หลบหนี โดยจำกัดระยะเวลาการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานไว้เพียง 48 ชั่วโมงนับแต่ทราบเหตุผู้ต้องขังหลบหนี และมีอำนาจในการป้องปรามมิให้มีการนำสิ่งของต้องห้ามประเภทต่าง ๆ เข้าสู่เรือนจำ โดยจำกัดอาณาบริเวณและกำหนดพฤติการณ์ที่จะทำให้เจ้าพนักงานมีอำนาจเช่นนั้น

6. กำหนดให้ทุกเรือนจำใช้คำขึ้นต้นว่า เรือนจำอันเป็นการยกเลิกทัณฑสถาน และทัณฑนิคม ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถกำหนดประเภทของเรือนจำชัดเจนยิ่งขึ้น กำหนดให้มีเกณฑ์มาตรฐานของเรือนจำในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์มาตรฐานด้านระบบบริหารจัดการ ระบบการพัฒนาพฤตินิสัย กำหนดให้กรมราชทัณฑ์สามารถกำหนดอาณาเขตในสถานที่อื่นเพื่อเป็นสถานที่คุมขัง กำหนดให้ใช้มาตรการลงโทษอื่นแทนการจำคุก และการให้เอกชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินภารกิจของรัฐได้

7. กำหนดให้จัดให้มีการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังอย่างเป็นระบบ ปรับปรุงระบบการรับตัวผู้ต้องขังให้มีความทันสมัยและชัดเจนยิ่งขึ้น พัฒนาระบบการจำแนกและแยกคุมขัง เพื่อให้การคัดกรองผู้ต้องขังดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลต่อการคัดแยก การพัฒนาพฤตินิสัย ตลอดจนการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย

8. กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น พัฒนาบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับประโยชน์ผู้ต้องขังที่มีความประพฤติดีให้ สามารถนำมาบังคับใช้ได้อย่างแท้จริง รวมทั้งกำหนดการอื่น ๆ ที่เกี่ยวแก่ผู้ต้องขังให้เป็นรูปธรรมและเป็นไปตามมาตรฐานสากลมากขึ้น เช่น อนามัยผู้ต้องขัง การติดต่อผู้ต้องขัง เป็นต้น ตลอดไปจนถึงบทบัญญัติเกี่ยวกับวินัยและบทลงโทษผู้ต้องขังที่กระทำผิดวินัย

9. กำหนดให้มีกระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย โดยให้กระบวนการนี้เริ่มต้นตั้งแต่มีการรับตัวผู้ต้องขัง เพื่อให้สอดคล้องกับโปรแกรมการพัฒนาพฤตินิสัย ตามที่กรมราชทัณฑ์หรือเรือนจำได้จัดเตรียมให้หลังจากผ่านระบบการจำแนกมาแล้ว และกำหนดให้เรือนจำต้องดำเนินการจัดเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ให้กับผู้ต้องขัง เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 เมษายน 2558-- 

นานาสาระ พรบ.ราชทัณฑ์ 2588 รู้ไว้ใช่ว่า 1 (แนวคิด)

คนราชทัณฑ์ กับ งานราชทัณฑ์
วันนี้ (24 ก.พ.)ที่กระทรวงยุติธรรม นายวิทยา สุริยะวงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวถึงการแก้ไขพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 กระทรวงยุติธรรม ว่ากรมราชทัณฑ์ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม และผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ได้เสนอยกร่างพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ..... ซึ่งถือเป็นการยกเครื่องกลไกบริหารจัดการงานราชทัณฑ์ของไทยใน 2 มิติ คือ 1. การปรับปรุงโครงสร้างและระบบการทำงานราชทัณฑ์ และ 2. การปรับปรุงโครงสร้างระบบพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสิ่งของต้องห้าม การพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขัง และการให้ชุมชนมีส่วนร่วม หรือการนำมาตรการอื่นมาใช้แทนการจำคุก ซึ่ง พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ฉบับใหม่ จะเป็นส่วนเติมเต็ม พ.ร.บ.ราชทัณฑ์เดิมที่ให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้นในทุกๆด้านเกี่ยวกับการ จัดการระบบการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นการตอบโจทย์การปฏิรูปประเทศของรัฐบาลสู่การขับเคลื่อนศักยภาพการแข่งขัน ของประเทศในทุกมิติ และยกระดับงานยุติธรรมไทยสู่มาตรฐานสากล
      
       ทั้งนี้ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์เดิมมีทั้งหมด 58 มาตรา ส่วนร่างพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ..... ใหม่ที่เสนอนั้นมีทั้งหมด 115 มาตรา โดยมีรายละเอียดประเด็นที่เพิ่มเติมในร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่ ประกอบด้วย การบริหารงานและการพัฒนาองค์กร เช่น กำหนดให้มีการจัดสรรอัตรากำลังให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงานของราชทัณฑ์ มีคณะกรรมการนโยบายการราชทัณฑ์การบริหารและการพัฒนาบุคลากร เช่น การให้ เจ้าพนักงานการราชทัณฑ์เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา อำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดยให้เจ้าพนักงานมีอำนาจพิเศษตามที่กำหนดใน พระราชบัญญัติ
      
       นอกจากนี้จะมีการแบ่งกลุ่มนักโทษตามประเภทเรือนจำ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลง โดยการจัดให้มีระบบการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังและการแยกขังมาตรการบังคับโทษ ประเภทอื่น เช่น เรือนจำการศึกษา เรือนจำกีฬา เรือนจำการฝึกอาชีพ รวมทั้งการให้ชุมชน ครอบครัว หรือผู้นำทางศาสนาเข้ามีส่วนร่วมในการบำบัด ฟื้นฟู สิทธิ หน้าที่ และประโยชน์ของผู้ต้องขัง เช่น สิทธิผู้ต้องขังหญิงในการได้รับการศึกษาหรือการอบรมเช่นเดียวกับผู้ต้องขัง ชาย สิทธิในการนับถือศาสนา การรักษาข้อความในหนังสือร้องทุกข์ หนังสือยื่นเรื่องราว หรือฎีกาไว้เป็นความลับอนามัยของผู้ต้องขัง เช่น การออกไปรักษาตัวยังสถานที่อื่นนอกเรือนจำ

      
       นายวิทยากล่าวต่อว่า สำหรับกระบวนการในการจัดทำ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ฉบับใหม่ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ การยุติธรรมไทย ที่มีการ ‘นำเข้า’ ความเชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ผนวกกับพลังสมองของบุคลากรระดับหัวกะทิด้านงานยุติธรรมในกระทรวงยุติธรรม จับมือกับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อมองให้ลึกซึ้งถึงปัญหา และหาวิธีการแก้ไขร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ในการจัดการปัญหายาเสพติดและสิ่งของต้องห้าม ภายในเรือนจำ การพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดคุ้มครองสิทธิผู้ต้อง ขัง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและมาตรการทางเลือกแทนการจำคุก เพื่อเติมเต็ม พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ให้ครอบคลุมทุกด้านของการจัดการระบบการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด ตลอดจนเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ในการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะภารกิจงานด้านราชทัณฑ์ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการแก้ไขฟื้นฟู
      
       นอกจากนี้ ยังเป็นการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเรือนจำ ผู้ติดยาเสพติดได้รับการบำบัดฟื้นฟู และป้องกัน การกลับไปเสพยา และกระทำผิดซ้ำเพื่อมุ่งสู่ปลายทางสำคัญ คือ สังคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น จากการที่ผู้กระทำความผิดอยู่ภายใต้ระบบการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ และรัฐบาล สามารถใช้ประโยชน์จากการที่สังคมปลอดภัย ในการพัฒนาศักยภาพของประเทศในด้านต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศไทยต่อไป