วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

อัพเดท กฏ ระเบียบ หนังสือเวียน ไว้สำหรับอ่านสอบ

คนราชทัณฑ์ กับ งานราชทัณฑ์

ว่างๆ ช่วงนี้ เห็นมีหนังสือเวียน และหนังสือทั่วไปออกใหม่ ก็กลัวพวกเราชาวผู้คุมตามไม่ทันเลยหามาให้โหลด อีกช่องทางหนึ่ง มี 3 เรื่อง นโยบายอธิบดี ปี 2555 อำนาจการควบคุมเรือนจำ/ทส ฉบับ 4 และก็ประกาศเกี่ยวกับเครื่องพันธนาการฉบับแก้ไขปรับปรุง เอาไว้อ่านเป็นความรู้หรือใช้ประกอบการเขียน
หนังสือเวียน หนังสือต่างๆ ห้องสมถดกฎหมายราชทัณฑ์ ผมเอาลิงค์แปะไว้ในภาพให้แล้วนะครับ โหลดเก็บไว้เป็นตำราอ่านเล่นเวลาเข้าเวรก็ดีนะครับ หากอยากได้เอกสารอะไร เกี่ยวกับงานราชทัณฑ์ งานยุติธรรม และที่เกี่ยวข้อง คอมเม้นท์เข้ามาครับ ผมจะสืบหามาให้ โลกออนไลน์มีไว้สำหรับแบ่งปันครับตามลิงค์เอกสารด้านล่างเอาไว้เขียนโครงการได้นะครับสำหรับนโยบายอธิบดี เอกสารที่เหลือเอาไว้อ่านสอบ หรือเอาไว้อ่านประดับความรู้ กรมราชทัณฑ์เรา มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมากครับ ก็เนื่องจาก ช่วงเวลา และการผลัดเปลี่ยนผู้บริหาร ดังนั้น หนังสือ กฏหมาย ระเบียบต่างๆ ต้องปรับให้เป็นปัจจุบัน อธิบดีใหม่มาก็เปลี่ยนนโยบายกันไป เราค้องตามเหตุการณ์ให้ทัน เชิญดาวโหลดตามสบายครับ เอกสาร1  เอกสาร 2 เอกสาร3

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

เขาปลดล๊อกเรื่องเวลาในการเบิกเวรยามแล้วให้ก็ไม่อยากจะเอากัน ความเรื่องมากของคนราชทัณฑ์

คนราชทัณฑ์ กับ งานราชทัณฑ์

ตามกระทู้ ของขวัญปีใหม่ จากกรม กรมราชทัณฑ์ เขาไปทำข้อตกลงกับกรมบัญชีกลางเกี่ยวกับการที่ข้าราชการเราที่เข้าเวร กลางวัน 08.30-16.30 และกลางคืน 16.30-08.30 น.สามารถเบิกค่าล่วงเวลาลักษณะซ้ำตัวบุคคล(เป็นภาษาที่นักกฏหมายเขาใช้)ได้หรือเปล่า ง่ายๆ ภาษาผู้คุมคือเข้าเวรเบิ้ลได้หรือเปล่า เพราะการเข้าเวรลักษณะนี้จะเกิดเฉพาะวันหยุด เรียกภาษาผู้คุมเราว่า เวรเบิ้ลลล.. กรมบัญชีกลางเขาก็ตอบให้กรมราชทัณฑ์กลับมาว่า ได้คะ แต่ต้องจำเป็นจริงๆนะคะ เพราะตามที่คุณขอฉันมา คุณอ้างความจำเป็นว่า อัตรากำลังไม่พอ หากอัตรากำลังเพียงพอให้เบิกแบบปกตินะคะ(นี่ก็เป็นภาษาการเขียนกฏหมายที่ต้องแสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้อนุญาตง่ายๆนะ แต่เราอนุญาตตัวเองแล้วแหละ อะไรประมาณนี้)

ย่อหน้าสุดท้ายหน้าที่ 2 ของหนังสือกรมบัญชีกลาง


และกรมฯก็อ้างย่อหน้านี้เพื่อความชัดเจนว่า เบิกได้ ไอ้เวรเบิ้ล เนี๊ยยย... ในหนังสือนำส่ง ย่อหน้าที่ 2 ก็ ย้ำชัด กรมฯ จัดให้แล้วนะเบิกเวรเบิ้ลเนี่ย..


แต่ไอ้ที่กำลังเถียงกันอยู่ ตามเรือนจำ ของพวกนักกฏหมายใหญ่ คือหนังสือกรมท่อนท้าย ประโยคนี้


พวกนักกฏหมายใหญ่ ตามเรือนจำ/ทัณฑสถาน ไปจินตนาการว่า การจะเบิกเวรยามลักษณะดังกล่าวได้ ต้องมีการมอบหมาย หรือจัดให้เข้าจากการจัดเวรเท่านั้น จะบ้าตาย.... เรือนจำใหนจะเป็นบ้าจัดเวรเบิ้ลว่ะเนี่ยย.. คิดได้ไง ที่เขาไปขอทำความตกลงกับกรมบัญชีกลางให้เรา ก็เพราะเขาเห็นว่า พวกเราที่อยู่ตามเรือนจำ เสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดราชการ คนที่มีความจำเป็นเข้าเวรไม่ได้ ต้องให้เพื่อนช่วยเบิ้ลให้หน่อย ราคาจ้างเท่าใหร่ก็ตกลงกันไป แต่เบิกไม่ได้ ให้เบิกได้ช่วงเดียว ก็เพื่อให้มันเบิกแบบสองช่วงเวลาได้นี่แหละ กรมฯ เขาถึงไปทำข้อตกลงให้เรา เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์กับเรา นักกฏหมายของเรือนจำ ก็แย้งอีก ว่า เอ้า ก็กรมสั่งว่าต้องได้รับมอบหมายเท่านั้น ถึงจะเบิกได้ ก็อยากจะถามกลับไปว่า ไอ้คนที่เข้าเวรเบิ้ล ใครอนุญาต ก็พัศดีไม่ใช่เหรอ พัศดีเวรตอนวันหยุด มีอำนาจพิจารณาสั่งการกรณีแทนเวรยามหรือเมื่อมีการขาดเวรยามอนุญาตให้มาเข้าเวรได้แทนผู้บัญชาการเรือนจำอยู่แล้ว ก็เสมือนว่าหน่วยงานอนุญาต นั่นแหละ ถือเป็นการมอบหมายโดยหน่วยงาน ไม่งั้นมันจะมาเข้าเวรได้อย่างไร เขาใช้หลักการความรับผิดชอบ ก็คือว่า สมมุติ ผู้คุมคนหนึ่งถูกจัดเวรให้เข้าเวรช่วงกลางวันวันเสาร์ เหตุการณ์ปกติ และเบิกได้ แต่คนนี้จำเป็นต้องรับเวรแทนเพื่อน ในช่วงกลางคืนต่อเนื่องโดยขออนุญาตพัศดีแล้ว ตอนกลางดึกมีผู้ต้องขังแหกหัก หลบหนี ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผู้คุมคนนี้ก็ต้องรับผิดชอบดังเช่นการเข้าเวรปกติทุกประการแม้จะเบิกค่าตอบแทนในช่วงเวลา ต่อเนื่อง ไม่ได้  กรมเขาก็เห็นใจตรงนี้ จะเบิ้ลไม่เบิ้ลผู้คุมก็โดนเหมือนกันเมื่อมีเหตุ เขาก็เลยไปตกลงให้เราว่า คนของผมเข้าเวรอย่างนี้แล้วต้องรับผิดชอบเหมือนปกติ น่าจะเบิกให้เขาได้ กรมบัญชีกลางก็ตอบกลับมาแล้วว่า ได้ ก็จบ อย่าเถียงกันเลยครับเรื่องนี้ อะไรเป็นคุณ กับเพื่อนข้าราชการเราก็จัดๆ ให้กันไปเถอะครับ... ไม่ต้องเชื่อผมก็ได้นะครับ นี่เป็นข้อวิจารณ์ส่วนตัวของผมนะ หากสงสัยประเด็นใด ลองโทรไปถามกรมฯ ดูอีกครั้งก็ไม่ว่ากัน ครับ...แล้วพบกันใหม่ กระทู้หน้าครับ