วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การเทียบตำแหน่งในการปฏิบัติงาน ตามกฏ กพ

คนราชทัณฑ์ กับ งานราชทัณฑ์
ก่อนอื่น ท่านต้องทำการดาวน์โหลด กฏ ก.พ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง ด้านล่างนี้ แล้ว ปริ๊นเอกสารออกมา อ่านประกอบ ท่านที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามเรือนจำ ทัณฑสถาน ปัจจุบันนี้ คงกำลังสงสัย มึน กับ การที่จะเอาใครเป็นหัวหน้า เป็นลูกน้อง ตัวเราเองอยู่ส่วนใหนของ เรือนจำ ทัณฑสถาน บางที่ เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ บ่าประดับ 2 ดาว ปฏิบัติงาน ทำงานมา 5 ปี เป็นหัวหน้า งาน ของนักทัณฑ ปฏิบัติการ บ่าประดับ 3 ดาว ซึ่งหากมองผิวเผิน ตามประดับบ่า ก็คงจะมองว่า เป็นไปได้อย่างไร แต่หากมองค่างาน ว่าใครใหญ่ใครเล็ก ซึ่งเมื่อดูกันตามกฏ กพ ฉบับนี้ สามารถมองกันได้หลายมิติ หากเป็นมิติ ของค่างานลักษณะที่ความรับผิดชอบตามที่ปรากฏในกฏ กพ จะเห็นว่า ค่างาน จะเท่ากัน แต่ไม่ทั้งหมด เช่น ให้ดูเอกสารตามไปด้วยนะครับ ข้อ 7 (1) กับ ข้อ 9(1) ค่างานโดยรวมแล้วไม่ต่างกันเลย อีกอัน ข้อ 7(2) กับข้อ9(2) ค่างานโดยรวมตามกฏ กพ แล้ว  เป็นงานที่แทนกันได้เลย เพียงแตกต่างกันที่ข้อความท้าย คือคำว่า ยาก กับค่อนข้างยาก เท่านั้นเอง แต่เนื้องานตามลักษณะตำแหน่ง เหมือนกันเดี๊ยะ ท่านผู้อ่านลองมองภาพดูนะครับ ดูออกกันหรือยัง ฉะนั้น สิ่งที่ท่านจะเห็นต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ อาจจะได้เห็น ชำนาญงาน เป็นหัวหน้างาน ชำนาญการ เป็นลูกน้องก็ได้ หรือชำนาญงาน เป็นหัวหน้าฝ่าย มีลูกทีม เป็นทั้งชำนาญการ และชำนาญงานคละกันไป สำหรับหากมองมิติระดับบ่าตำแหน่ง ซึ่งสายนักวิชาการบางท่าน บอกว่า เฮ้ย ไม่ได้ ชำนาญการต้องเหนือกว่า ชำนาญงาน ซิ ตามบ่า ต้องให้เค้าเป็นหัวหน้า อันนี้ ท่านต้องดูอีก ว่า หาก ชำนาญงาน ขึ้นไป อาวุโส แม้จะขึ้นหลังท่านชำนาญการซัก 2 ปี แต่ตามหลักการเติบโต แล้ว อาวุโส จะสูงกว่า อีกขั้นหนึ่ง ซึ่งมันเป็นรูปแบบการลื่นใหลในสายงานตามที่ กพ ได้กำหนดไว้แล้ว มีรูปให้ดูด้วย ท่านจะเห็นว่าตำแหน่งอาวุโส สามารถสอบคัดเลือกไปเป็น ผู้อำนวยการระดับต้น แข่งกับชำนาญการพิเศษ ได้เลยตามเกณฑ์อายุงานที่ กพ กำหนด หรือเอาจะๆ ตอนนี้ คือการเปิดสอบคัดเลือกอำนวยการระดับต้นที่กำลังรับสมัครอยู่ตอนนี้ ท่านจะเห็นว่า คุณสมบัติผู้มีสิทธิสอบ ตามเกณฑ์มีอยู่แค่า 2 สาย คือชำนาญการพิเศษ และอาวุโส สำหรับสายงานอื่นที่เทียบเท่าต้องไม่น้อยกว่า 2 ตำแหน่งนี้ ลองโหลดเอกสารกันดู คลิ๊กเลย เห็นอะไรลางๆ หรือยัง ซึ่งนี่ เป็นเพียง การวิเคราะห์ประกอบเอกสาร ระบบปฏิบัติงานเราคงต้องมีการปรับกันพอสมควร ซึ่งหากท่านใด เห็นว่า ที่ได้วางหัวข้อวิเคราะห์ไว้ น่าจะมีอะไร เสริม หรือมีอะไรที่จะนำเสนอมากกว่านี้ ก็เชิญ ตามสะดวกนะครับ เป็นการแชร์ วิสัยทัศน์ และแนวคิดกัน เดี๋ยวตอนหน้ามาว่ากันเรื่องรูปภาพประกอบที่เอามาให้ท่านดู อย่าลืม ดาวน์โหลด กฎ กพ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งนะครับ (คลิ๊กที่นี่)

ความคืบหน้าจาก กองการเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์

คนราชทัณฑ์ กับ งานราชทัณฑ์
ประมาณต้นเดือน กองการเจ้าหน้าที่ได้สัญจร มาแถวๆ โคราช ได้มีโอกาส ไปนั่งฟังด้วยว่า จะมีความคืบหน้าอะไรบ้าง สำหรับ ราชทัณฑ์เรา ก่อนอื่นต้องขอโทษด้วยครับที่หายหน้าหายตาไปนาน เข้าเรื่องเลยดีกว่า วันนั้น วิทยากรที่มา ก็มี คุณณรงค์  จุ้ยเส่ย  คุณเกียรตกร  ปัทมทัตถ์ ชื่อสกุลผิดก็ขอประทานอภัยมณีโทษมา ณ โอกาสนี้ด้วย ถ้าวิทยากร สองท่านนี้มา เนื้อหาก็จะออกแนววินัย นะครับ แต่ที่น่าสนใจคือ  1.ความคืบหน้า ของการจัดทำตัวชี้วัด รอบที่สอง ซึ่งกรมฯ ได้ไปทำความตกลง เกี่ยวกับเรื่องเงินเดือนสำหรับผู้ที่ไม่ตรงตัว ซึ่ง ทาง กพ ได้รับหลักการและอาจมีหนังสือสั่งการเร็วๆนี้ ถ้าทันนะครับ ให้พิจารณาเงินเดือน ตามตัว มิใช่ตามเงินเดือน ก็ติดตามต่อไป เรื่องที่ 2.เห็นว่าจะมีการเปิดสอบ รู้สึกจะเป็นตำแหน่งชำนาญการพิเศษ นะครับ ไม่เกินสองเดือนนี้ คอยลุ้นกันอีกที 3.เป็นประเด็นที่ผมแทรกให้ทาง กจ น่าจะนำไปพิจารณาเกี่ยวกับสายงานทั่วไป ตำแหน่ง อาวุโส ซึ่ง ตอนที่จัดคนลงตำแหน่ง ได้มีการปัด ระดับ 6-7 ที่มี ป.ตรี เข้าชำนาญการ ระดับ 7 ที่ไม่มี ป.ตรี เข้า อาวุโส ทำให้ ตำแหน่ง อาวุโส ตอนนี้ นับหัวได้เลย มีไม่เท่าใหร่ ทำให้สายทั่วไป มองไม่เห็นเส้นทางก้าวหน้าของตนเอง ทั้งๆที่เป็น ตำแหน่งความก้าวหน้า ในสายของตนเอง ซึ่งในการนี้ ต้องเป็นหน้าที่ ของ กจ ที่ต้องกำหนดตำแหน่งและ ไปขอตำแหน่ง ตาม ว.19 ของ กพ. เพื่อให้มีตำแหน่งความก้าวหน้าสำหรับสายทั่วไป ว่า จาก ชำนาญงาน แล้ว จะไปที่ใหน มีตำแหน่งรองรับหรือไม่ ตรงนี้ ก็ต้องดูว่า กรมฯ จะเห็นความสำคัญของ ผู้ปฏิบัติ สายทั่วไปหรือเปล่า ก็ต้งคอยฟังกันอีกที  นอกนั้น ก็เป็นเรื่อง เกี่ยวกับการรักษาวินัย ก็จบครับสำหรับข่าวจากทาง กจ เดี๋ยวจะมีอีกเรื่อง เกี่ยวกับ การเทียบชั้นตำแหน่งในการปฏิบัติงาน เดี๋ยวมาครับ